คำนามพิเศษ
สารบัญ
สำหรับผู้เริ่มเรียนบาลีการแปรรูปนามถือว่าเป็นภาระหนักอันแรกที่ต้องจดจำ สิ่งที่เราได้เรียนผ่านมากก็นับว่ามากอยู่ มีทั้งการแปรรูปนามปกติรวมทั้งคำคุณศัพท์ และการแปรรูปคำสรรพนามที่ใช้บ่อย นั่นเพียงพอแก่การเริ่มต้นแต่ยังไม่พอที่จะอ่านคัมภีร์ต่าง ๆ ได้ เราต้องเรียนคำนามที่มีการแปรรูปแบบพิเศษด้วย เพราะคำเหล่านี้ใช้บ่อยมากในคัมภีร์ (อาจเพราะเป็นคำเก่าที่ถือกฎโบราณในการแปรรูป) เราควรจะจำให้ได้ด้วย อย่างน้อยก็ควรรู้ว่าคำใดบ้างอยู่ในกลุ่มพิเศษ ส่วนรูปการแปรอาจจะอาศัยตารางช่วยไปก่อนในระยะแรก ๆ เมื่อเราอ่านคัมภีร์ไปสักพักก็จะคุ้นเอง ส่วนการแปรรูปคำสรรพนามอื่น ๆ จะได้กล่าวถึงในบทที่เกี่ยวข้องต่อไป ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่ได้กล่าวถึง ให้ศึกษาจาก Appendix B.4 ใน Pāli for New Learners, Book 1
การใช้งานของคำพิเศษเหล่านี้ก็เหมือนกับคำนามทั่วไป เพียงแต่แปรรูปให้ตรงกับหน้าที่ที่ต้องการ แต่ในการอ่านคัมภีร์ต่าง ๆ เราต้องจดจำรูปคำที่มีหลากหลายด้วยเพราะบางครั้งเมื่อพบรูปที่ไม่คุ้นก็จะเกิดความสับสนได้ ตัวอย่างเช่นเมื่อพบคำว่า sati อยู่ในประโยคที่ไม่น่าจะพูดถึงเกี่ยวกับสติ ตัวบทอาจจะเป็นรูป loc. ของ santa ก็ได้ (ดูตารางสุดท้าย)
ที่พิเศษกว่าชุดอื่นคือคำในกลุ่มของ guṇavantu ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์ การใช้งานเบื้องต้นได้อธิบายไว้แล้วในเรื่องนามกับบทขยาย ส่วนการใช้งานในหน้าที่อื่น ๆ ก็เหมือนกับคำทั่วไป คำที่พบมากที่สุดของชุดนี้เห็นจะเป็น bhagavantu ที่หมายถึงผู้มีพระภาค (the Blessed One) มีรูป bhagavā (nom.) bhagavantaṃ (acc.) bhagavatā (ins./abl.) และ bhagavato (dat./gen.) เป็นต้นที่พบบ่อย
มโนคณะ
มีคำชุดหนึ่งเรียกว่า มโนคณะ มีการแปรรูปแบบเดียวกัน ดูได้จากตารางข้างล่าง นอกจากคำชุดนี้ยังมีคำปกติบางคำมีบางรูปที่ใช้ตรงกับคำชุดนี้ เช่น pāda (foot) มีรูป pādaso pādasā และ mukha (mouth) มีรูป mukhasā เป็นต้น เราถือสองศัพท์นี้มีรูปพิเศษเฉพาะ แต่ไม่นับรวมในมโนคณะ
ส่วนคำในมโนคณะเองถ้าใช้ในความหมายอื่นก็ถือว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน โดยให้แปรรูปตามกฎปกติ คำเหล่านี้ได้แก่ vaya ที่แปลว่า decay และ sara ที่แปลว่า sound หรือ arrow เมื่อใช้ในความหมายดังกล่าวให้ถือว่าเป็นคำนามปกติ
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |
Rāja brahma atta เป็นต้น
คำกลุ่มนี้ไม่ได้จัดเป็นชุดแต่ก็มีลักษณะคล้ายกันคือส่วนใหญ่เป็น m. ที่มีรูป nom. ลงท้ายด้วย ā นอกจากนี้ยังมีคำจิปาถะอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่มีกลุ่มจะลงจึงนำมารวมไว้ด้วย และยังมีอีกบางส่วนที่ไม่ได้นำมาลงเพราะเห็นว่าไม่ได้พบบ่อย ให้ดูเพิ่มเติมในหนังสือ คำส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เมื่อใช้เป็นคำประสม (compound) จะแปรรูปแบบปกติก็ได้ เช่น mahārājo เป็นต้น
การแปรรูปของ sā (dog) นำมาจากปทรูปสิทธิ (Rūpa 144) แต่สัททนีติมีแบบที่ต่างออกไป (Sadd Pad 6) ให้ดูตารางในหนังสือ คำนี้ไม่น่าจะพบบ่อย ถ้าจะใช้ให้ใช้ sunakha (m.) แทน ซึ่งแปรรูปตามปกติ
คำว่า go แปลทั่วไปว่า ปศุสัตว์ (cattle) จะหมายถึงวัวตัวผู้ (ox) หรือวัวตัวเมีย (cow) ก็ได้ คือการแปรรูปใช้ได้ทั้ง m. และ f. คำที่ใช้แทนได้คือ goṇa (m.) กับ gāvī (f.) ทั้งสองคำแปรรูปตามปกติ
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |
Satthu kattu เป็นต้น
คำชุดนี้แปรรูปคล้ายกัน ส่วนคำบริวารทั้งหลายใช้แบบตาม kattu ทั้งหมด ที่มาของรูปแบบเกิดจากการผสมระหว่างปทรูปสิทธิกับสัททนีติปทมาลา ในตำราที่มาจากผู้ศึกษาภาษาสันสกฤตมักจะใช้รูป stem คือ satthar และ kattar เป็นต้น แต่ตำราในแนวขนบไม่ได้ใช้รูปศัพท์แบบนี้
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |
Pitu mātu เป็นต้น
คำชุดนี้คล้ายกับกลุ่ม satthu มีจุดต่างกันเล็กน้อย ที่แยกออกมาเพื่อความชัดเจน บางครั้งเราจะเห็นคำในชุดนี้เป็น pitar และ mātar เป็นต้น เมื่อใช้เป็นคำประสม mātāpitu แปลว่า parents ใช้การแปรรูปแบบ pitu แต่ใช้เฉพาะพหูพจน์เช่น mātāpitaro เป็นต้น
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |
Guṇavantu himavantu satimantu เป็นต้น
คำชุดนี้เป็นผลผลิตที่เกิดจาก secondary derivation (ตัทธิต) มีปัจจัยท้ายเป็น -mantu หรือ -vantu คำเหล่านี้แปรรูปด้วยหลักเดียวกันแต่บางคำมีบางรูปที่แปลกออกไป จึงแยกได้เป็นสามกลุ่มย่อย คำทั้งหมดนี้เป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์จึงผันได้ทั้งสามเพศ ส่วนคำแปลส่วนใหญ่จะให้เป็นคุณศัพท์ ถ้าจะแปลเป็นคำนามให้ใส่ one who is หรือ thing that is เข้าไป ถ้าคำไหนให้คำแปลเป็นนามก็ให้ทำตรงกันข้าม
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |
Gacchanta bhavanta เป็นต้น
คำชุดนี้มีรูปศัพท์คล้ายกันแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มของ gacchanta ซึ่งมีคำบริวารจำนวนหนึ่ง คำกลุ่มนี้เป็นตัวอย่างของนามที่มาจากปัจจัย -anta ซึ่งเป็นรูป present participle (ดูรายละเอียดในบทที่เกี่ยวข้อง) ฉะนั้นคำชุดนี้จึงสามารถมีได้ไม่จำกัด ที่ยกมาเป็นเพียงที่พบได้บ่อย ในกรณีที่จะใช้คำกลุ่มนี้เป็น f. ให้แปลงอักษรท้ายเป็น ā แล้วแปรรูปแบบปกติ ส่วน nt. ให้ดูตามแบบที่แสดงไว้เป็นตัวอย่าง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมี bhavanta เป็นต้นนั้น เป็นคำจิปาถะที่มีรูปคล้ายกันแต่ไม่ได้แปรรูปเหมือนกันทั้งหมด
คำว่า arahanta ในตารางหมายถึงผู้ที่ควรบูชา แต่ถ้าจะหมายถึงพระอรหันต์ให้แปรรูป nom. เป็น arahā นอกนั้นเหมือนกัน อีกคำที่น่าสนใจคือ santa (m.) แปลว่า righteous person ถ้าเป็น f. ให้ใช้ satī ซึ่งแปรรูปแบบปกติ รูป santa มีคำพ้องที่มาจากกริยา atthi ผสมกับปัจจัย -anta มีความหมายว่า thing that is existing มีการแปรรูปต่างกันเล็กน้อยคือ รูป nom. ใช้ santo ไม่ใช้ saṃ (ดูรายละเอียดในหนังสือ)
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |