การตั้งคำถามเบื้องต้น
เมื่อเราเรียนรู้การแปรรูปนามครบทั้ง 8 เคส รวมทั้งการใช้กริยาปัจจุบัน เราควรจะแต่งประโยคบาลีง่าย ๆ ได้ แต่เรายังไม่สามารถจะสนทนากันได้ เพราะการสนทนาจะต้องมีการถามตอบ และเรายังไม่ได้พูดถึงการตั้งคำถาม ดังนั้นบทนี้จึงเพิ่มเข้ามาในขั้นต้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างบทสนทนาและสื่อสารกันได้ การฝึกด้วยการสนทนาจริงระหว่างผู้เรียนด้วยกันเป็นการเพิ่มความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
การตั้งคำถามปลายปิดหรือคำถามที่ต้องการคำตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ทำได้ง่าย ๆ แค่เราโยกคำกริยามาไว้หน้าประโยค ส่วนคำถามที่ซับซ้อนกว่านั้นต้องอาศัยการแปรรูปนามดังจะได้กล่าวต่อไป ตัวอย่างคำถามปลายปิดมีดังนี้
- jānāsi tvaṃ pālibhāsaṃ?
= Do you know Pāli?- gacchasi tvaṃ pāṭhasālaṃ?
= Are you going to school?- atthi tuyhaṃ potthakaṃ?
= Do you have the book?
สรรพนามคำถาม
การสร้างประโยคคำถามปลายเปิดในภาษาบาลีทำได้หลายวิธี (เราจะเรียนรู้เพิ่มเติมในบทที่เกี่ยวข้องต่อไป) ในที่นี้เราจะเรียนวิธีที่สำคัญที่สุดคือ การใช้สรรพนามคำถาม หรือ interrogative pronoun ซึ่งมีอยู่ตัวเดียวคือ kiṃ1 ด้วยการแปรรูปของคำนี้อย่างเหมาะสม เราสามารถตั้งคำถามอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น who, whom, whose, what, which, when, where, why, หรือ how ส่วนตารางการแปรรูปดูได้ข้างล่าง (คำนี้ไม่มีรูป voc.)
case | m./nt. sg. | m./nt. pl. | f. sg. | f. pl. |
---|---|---|---|---|
1. nom. | ko / kiṃ | ke / kāni | kā | kā |
2. acc. | kaṃ / kiṃ | ke / kāni | kaṃ | kā |
3. ins. | kena | kehi, kebhi | kāya | kāhi, kābhi |
4. dat. | kassa, kissa | kesaṃ | kassā | kāsaṃ |
5. abl. | kasmā | kehi, kebhi | kāya | kāhi, kābhi |
6. gen. | kassa, kissa | kesaṃ | kassā | kāsaṃ |
7. loc. | kasmiṃ, kismiṃ | kesu | kassaṃ | kāsu |
จากตารางจะเห็นว่ารูปของ m. กับ nt. นั้นใช้ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น nom. กับ acc. (m. ใช้ ko ส่วน nt. ใช้ kiṃ เป็นต้น) และรูปของ dat. กับ gen. นั้นเหมือนกันทุกประการ การใช้งานไม่ได้ซับซ้อน เพียงใช้รูปให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการถาม ซึ่งคำถามบางอย่างอาจจะใช้ได้มากกว่าหนึ่งเคส ส่วนตำแหน่งที่วางนั้นไม่ได้สำคัญมาก แต่เพื่อเน้นคำถามคำเหล่านี้มักจะนำประโยค ตัวอย่างการใช้มีดังนี้
Who?
คำถามด้วย who ใช้ nom. เป็นหลัก ถ้ารู้เพศแน่นอนให้ใช้เพศตามนั้น ถ้าไม่รู้ให้ใช้ m. ตัวอย่างเช่น
- ko hosi, dāraka?
= Who are you, boy?- kā etā dārikā hoti?
= Who is that girl?- ke te janā honti?
= Who are those people?- ko pāṭhasālaṃ gacchati?
= Who does go to school?
= Who is going to school?
Whom?
คำถามนี้เป็นรูปกรรม ถ้าเป็นกรรมตรงให้ใช้ acc. ส่วนกรรมรองใช้ dat. ในกรณีที่ถามถึงคนที่ทำกริยาร่วมกันใช้ ins. + saddhiṃ/saha ถ้าไม่รู้เพศให้ใช้ m. ไว้ก่อน ตัวอย่างมีดังนี้
กรรมตรง
- kaṃ so coro paharati?
= Whom does the thief hit?- kaṃ tvaṃ ālokesi?
= Whom do you look at?กรรมรอง
- kassā tvaṃ idaṃ sāsanaṃ pesesi?
= To whom do you send this letter?
[Suppose the receiver is a girl.]- kassa so dārako potthakaṃ dadāti?
= To whom does that boy give the book?บุคคลที่ทำกริยาร่วมกัน
- kena saddhiṃ so dārako pāṭhasālaṃ gacchati?
= With whom does that boy go to school?- kāya saha tvaṃ vasasi?
= With whom (f.) do you live?
whose?
คำถามนี้ชัดเจนว่าใช้รูป gen. เพราะเป็นการถามหาเจ้าของ ตัวอย่างเช่น
- kassa idaṃ potthakaṃ hoti?
= Whose book is this?- kassa gehasmiṃ tvaṃ viharasi?
= Whose house do you live in?- kassa rathena dārikā nagaraṃ gacchati?
= Whose car does the girl ride to town?
what?
คำถาม what ในภาษาอังกฤษนั้นกว้าง อาจจะเป็นได้หลายกรณีขึ้นอยู่กับบริบท ตัวอย่างเช่น
- kiṃ idaṃ (vatthuṃ) hoti?
= What is this (thing)?- tuyhaṃ kiṃ nāmaṃ hoti?2
= What is your name?
[nāma (nt.)]- ko/kā nāmena hosi?
= Who are you by name?
= What is your name?- kassa hitassa tvaṃ nagaraṃ gacchasi?
= For what benefit do you go to town?
[นิยมใช้ kimatthāya แทน kassa hitassa]- idāni kā ghaṭikā hoti?
= What time is it now?
[idāni (ind.), ghaṭikā (f.)]
which?
การถามด้วย which คล้ายกับคำถาม what (บางครั้งก็แทนกันได้) มีความเป็นไปได้หลากหลายตามบริบท ส่วนใหญ่จะใช้เป็นบทขยาย เช่น
- kena mahārathena dārakā pāṭhasālaṃ gacchanti?
= By which bus do the children go to school?- tesu tvaṃ kiṃ potthakaṃ dhāresi?
= In those (book), which book do you have?- tesu kiṃ pupphaṃ tuyhaṃ ruccati?
= In those (flower), which flower do you like?
[ruccati idiomatically takes dat.]
when?
คำถามหาเวลาใช้ loc. เป็นหลัก3 แต่การใช้เพียง kasmiṃ/kassaṃ นั้นอาจจะกว้างเกินไปเพราะหมายถึงสถานที่ก็ได้ ดังนั้นถ้าบริบทไม่ช่วยก็ควรระบุให้ชัดเจน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- kassaṃ ghaṭikāyaṃ tvaṃ gacchasi?
= What time do you go?
= When do you go?
[จะใช้ nāḷikāyaṃ ก็ได้ แต่อาจจะเข้าใจเฉพาะคนไทย]- kasmiṃ hemanto hoti?
= When is winter?- kesu (māsesu) vassakālo hoti?
= Which months are rainy season?
= When is rainy season (by months)?
อย่าลืมว่าถ้าเป็นการถามหาเวลาเริ่มต้น การใช้ abl. จะตรงกว่า และควรทำให้ชัดเจนเพราะอาจจะเป็นการถามหาเหตุผลก็ได้ เช่น
- kasmā kālā tvaṃ idha adhivāsesi?
= From what time do you wait here?
= From when do you wait here?
[idha (ind.)]
where?
การถามหาสถานที่อาจทำให้เรานึกถึง loc. แต่อย่าลืมว่า acc. ก็ใช้ในการระบุจุดหมายด้วย และ abl. ยังหมายถึงแหล่งที่มาอีกด้วย ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ดี ตัวอย่างเช่น
- kaṃ tvaṃ gacchasi?
= Where do you go?
[ไม่นิยมใช้เพราะคลุมเครือ นิยมใช้ kattha หรือ kuhiṃ (ind.) มากกว่า]- kaṃ ṭhānaṃ tvaṃ gacchasi?
= Which place do you go?
= Where do you go?- kasmā tvaṃ idaṃ potthakaṃ kiṇāsi?
= From where do you buy this book?
[ดูเป็นการถามหาเหตุผลมากกว่า จึงนิยมใช้ kuto (ind.) ในกรณีนี้]- kasmiṃ tvaṃ taṃ potthakaṃ ṭhāpesi?
= Where do you keep that book?
why?
คำถามหาเหตุผลทำได้หลายวิธี ที่ใช้มากคือรูป abl. หรือไม่ก็ ins. บางครั้งก็ใช้ loc. หรือ dat. นอกจากนี้ยังมี ind. บางตัวที่ใช้ได้ (แต่เรายังไม่พูดถึง) ตัวอย่างมีดังนี้
- kasmā (hetusmā) tvaṃ nagaraṃ gacchasi?
= From what reason do you go to town?
= Why do you go to town?- kena (atthena) tvaṃ nagaraṃ gacchasi?
= By what benefit do you go to town?
= Why do you go to town?- kasmiṃ (hitasmiṃ) tvaṃ nagaraṃ gacchasi?
= In what benefit do you go to town?
= Why do you go to town?- kassa (hitassa) tvaṃ nagaraṃ gacchasi?
= For what benefit do you go to town?
= Why do you go to town?
how?
นี่เป็นการถามหาวิธีการ รูปที่เหมาะสมคือ ins. (บางครั้ง abl. ก็ใช้ได้เหมือนกัน) แต่เราอาจจะตีความได้ว่าเป็นการถามหาเหตุผล ดังนั้นจึงควรทำให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น
- kena (ākārena) tvaṃ ayaṃ sūpaṃ pacasi?
= By what method do you cook this curry?
= How do you cook this curry?- kehi (upakaraṇehi) tvaṃ ayaṃ sūpaṃ pacasi?
= From what materials do you cook this curry?
= How do you cook this curry?การใช้ ins. อาจจะหมายถึงสิ่งหรือบุคคลที่ทำกริยาร่วมกันก็ได้ เช่น
- kena saddhiṃ tvaṃ ayaṃ sūpaṃ pacasi?
= With whom do you cook this curry?
What/How about?
เพื่อเราจะได้มีอุปกรณ์มากขึ้นในการตั้งคำถาม คำที่ควรรู้อีกคำหนึ่งคือ kīdisa อาจจะใช้เพื่อถามว่า what about? หรือ how about? หรือ what kind? หรือ what like? คำถามอย่างนี้ใช้มากเหมือนกันในบทสนทนา การใช้งานก็ไม่ยากแค่แปรรูป kīdisa เป็นบทขยายของสิ่งที่ต้องการถาม ดูตัวอย่างข้างล่าง
- kīdiso tava ratho hoti?
= How about your car?
= What is the kind of your car?
= What does your car look like?- kīdisā sā kaññā hoti?
= What does that girl look like?
= What kind of girl is that?- kīdisaṃ idaṃ potthakaṃ hoti?
= What kind of book is this?ตัวอย่างในคัมภีร์เช่น
- Kīdiso tesaṃ vipāko, samparāyo ca kīdiso4
= What kind of their [karmic] result, and what kind of future state?
คำเหล่านี้ใช้เป็นบทขยาย
- kīdisa = what/how about?, what kind?, what like?
- tādisa = that kind of, such
- yādisa = which kind of
คำในชุดนี้ยังมี tādisa (that kind of, such) และ yādisa (จะพูดถึงในเรื่องโครงสร้าง ya-ta) ที่ใช้อธิบายลักษณะของสิ่งต่าง ๆ การใช้งานก็คล้ายกับ kīdisa แต่ใช้ในประโยคบอกเล่า เช่น
- tādiso paññāvā dārako tādisaṃ thūlaṃ potthakaṃ paṭhati
= Such a wise boy reads such a big book.
= That kind of wise boy reads that kind of big book.- kena tvaṃ tādisena rathena nagaraṃ gacchasi?
= How do you go to town with such a car?- tādismā sā rodati
= From such a reason, she cries.- daḷiddā tādisesu appakesu gehesu vasanti
= Poor people live in such small houses.
เชิงอรรถ
-
บางตำราว่าตัวศัพท์คือ ka แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า kiṃ-sadda เป็นคำสรรพนามแปรรูปได้สามเพศ นอกจากนี้ kiṃ ยังสามารถใช้เป็น ind. เพื่อทำประโยคให้เป็นคำถามได้ด้วย ↩
-
การถามชื่อมักจะมาในรูปสมาส kiṃnāma หรือ kinnāma โดยผันได้สามเพศคือ kiṃnāmo (m.) kiṃnāmā (f.) และ kiṃnāmaṃ (nt.) คำถามจึงเป็น kiṃnāmo asi? (What’s your name?) หรือมักรวบเป็น kinnāmo’si? อย่างในคำถามตอนบวช นอกจากนั้น nāma ยังใช้เป็น ind. ได้โดยไม่ต้องแปรรูป ดังนั้นจะใช้ kiṃ nama hosi? ก็ได้เหมือนกัน ↩
-
แต่ที่นิยมใช้จริง ๆ คือ kadā (ind.) ซึ่งจะได้พูดถึงต่อไปในบทที่เกี่ยวข้อง ↩
-
SSag 1.49 ↩