ที่มาและสาเหตุ
สารบัญ
การบอกที่มาในภาษาอังกฤษทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ from ในภาษาบาลีเราไม่มีบุพบทที่จะใช้อย่างนั้น การแสดงที่มาจึงต้องแปรรูปคำให้เป็น ablative case ต่อไปจะย่อว่า abl. รูปนี้ยังสามารถแสดงสาเหตุของการกระทำได้ด้วย เทียบได้กับ because of ในภาษาอังกฤษ
Ablative case
หลักการแปรรูปของ abl. สรุปได้ตามตารางข้างล่างนี้ สังเกตได้ว่า รูปต่าง ๆ ของ m. กับ nt. นั้นใช้ร่วมกัน ส่วนรูปของ f. sg. เหมือนกับ gen. แต่มีรูป pl. ต่างกัน รูปที่มักจะเห็นบ่อยแต่ก็สร้างความสับสนไปในตัวคือ m./nt. sg. ที่มีอักษรท้ายเป็น a เราจะพบการเปลี่ยนเป็น ā อยู่บ่อยครั้งเพราะสะดวกดี
-a/-ā | -i | -ī | -u | -ū | |
---|---|---|---|---|---|
m. sg. | asmā amhā | ismā imhā | usmā umhā | ||
m. pl. | īhi ībhi | ūhi ūbhi | |||
nt. sg. | asmā amhā | ismā imhā | usmā umhā | ||
nt. pl. | |||||
f. sg. | āya | iyā | uyā | ||
f. pl. | āhi ābhi | īhi ībhi | ūhi ūbhi |
คำว่า “ที่มา” หมายถึงแหล่งที่จากมา ในภาษาอังกฤษจะแสดงด้วย from ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ahaṃ gehasmā nagaraṃ gacchāmi
= I go to town from home. [nagara (nt.)]- tvaṃ āpaṇamhā mahārathosānaṃ gacchasi
= You go from the market to the bus station. [āpaṇa (m.), mahārathosāna (nt.)]- bhikkhu imaṃ kāyaṃ uddhaṃ pādatalā adho kesamatthakā paccavekkhati
= A monk contemplates on this body from the soles of the foot to above, from the top of the head to below. [uddhaṃ, adho (ind.)]
เพื่อเป็นการย้ำอีกครั้งว่า บทขยายของนามใดต้องมีรูปตรงกับนามนั้น ให้พิจารณาตัวอย่างนี้ให้ดี
- mahanto puriso mahantasmā gehasmā mahantaṃ nagaraṃ gacchati.
= A big man goes from a big house to a big city.
ถ้าความหมายเป็นเชิงนามธรรม abl. มักจะใช้แสดงสาเหตุหรือแรงจูงใจ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- so jaratāya marati
= He dies from/because of old age. [jaratā (f.)]- sā kodhā sunakhaṃ paharati
= She hits the dog because of anger.- janā daḷiddasmā nagaraṃ gacchanti
= People go the the city because (they are) poor.
ในส่วนของสรรพนามมีการแปรรูปของ abl. ดังตารางข้างล่าง
สรรพนาม | 1st person | 2nd person | 3rd person |
ศัพท์ | amha | tumha | ta |
m./nt. sg. | mayā | tayā | tasmā, tamhā, asmā |
m./nt. pl. | amhehi | tumhehi | tehi, tebhi |
f. sg. | tāya | ||
f. pl. | tāhi, tābhi |
ta | eta | ima | amu | |
---|---|---|---|---|
m./nt. sg. | tasmā, tamhā, asmā | etasmā, etamhā | imasmā, imamhā, asmā | amusmā, amumhā |
m./nt. pl. | tehi, tebhi | etehi, etebhi | imehi, imebhi | amūhi, amūbhi |
f. sg. | tāya | etāya | imāya | amuyā |
f. pl. | tāhi, tābhi | etāhi, etābhi | imāhi, imābhi | amūhi, amūbhi |
ตัวอย่างการใช้มีดังนี้
- so mayā tvaṃ gacchati
= He goes from me to you.
= He goes to you because of me.- ahaṃ imasmā ṭhānā tava gehaṃ gacchāmi
= I go from this place to your house.
= I go to your house from/because of this reason.- so ācariyo tāya pāṭhasālāya taṃ āpaṇaṃ gacchati
= That teacher goes from that school to that market.
นอกจาก abl. จะใช้บอกที่มาและสาเหตุแล้ว ยังสามารถใช้ในประโยคเปรียบเทียบแบบง่าย ๆ ได้ด้วย (เราจะเรียนการเปรียบเทียบอย่างจริงจังในบทอื่น) ตัวอย่างเช่น เวลาจะพูดว่า “เขาเร็วกว่าฉัน” ให้เปลี่ยนเป็น “เขาเร็วจากฉัน” แทน ซึ่งจะได้ดังนี้
- so mayā sīgho hoti
= He is quicker than me.ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น
- esā tayā sundarā hoti
= That (girl) is more beautiful than you.- ahaṃ imasmā dārakasmā mahanto homi
= I am bigger than this boy.
รูป abl. สามารถใช้เปรียบเทียบได้ด้วย เช่น
- sā mayā paññāvatī hoti
= She is smarter than me.
นอกจากนี้มีกริยาบางตัวที่ใช้กับรูป abl. โดยเฉพาะ (จะมองว่าเป็นการแสดงกรรมโดยรูป abl. ก็ได้) กริยาที่พบบ่อยในกรณีนี้คือ bhāyati (to fear) uttasati (to be alarmed, to be terrified) และ viramati (to abstain, to cease) เมื่อจะใช้กริยาเหล่านี้ให้ทำกรรมเป็นรูป abl. แทน ตัวอย่างเช่น
- dārakā sappehi bhāyanti
= Children fear snakes.- ahaṃ tava mukhasmā uttasāmi
= I am terrified by your face.- pāṇātipātā viramāmi
= (I) abstain from taking lives.
กริยาบางตัวใช้กับ abl. โดยเฉพาะ เช่น
- sā pisācasmā bhāyati
= She fears a ghost.
และยังมีกริยาอีกมากมายที่ใช้กับ abl. ที่มีความเกี่ยวข้องกับที่มา อันนี้เราจะรู้และใช้ได้เองตามความหมายของกริยา (เหมือนตัวอย่างของ gacchati) ตัวอย่างเช่น
- phalāni rukkhasmā patanti
= Fruits fall from the tree.- so agārasmā nikhamati
= He goes out from home.- te imasmā lokā antaradhāyanti
= They disappear from this world.