Skip to main content Link Menu Expand (external link) Document Search Copy Copied

กรรมรองและเป้าหมาย

สารบัญ

บทนี้เราจะพูดถึงการแปรรูปนามอีกแบบหนึ่งซึ่งมีรูปแบบและความหมายคล้ายกับเคสอื่น ขอทบทวนสักเล็กน้อย เราใช้รูป acc. ในการระบุกรรมของกริยารวมทั้งจุดหมายของการไป และเราใช้รูป gen. เพื่อสัมพันธ์นามเข้าหากัน การแปรรูปที่เราจะเรียนต่อไปเรียกว่า dative case ต่อไปจะย่อว่า dat.

Dative case

ก่อนจะอธิบายการใช้งานขอให้ดูการแปรรูปของ dat. ตามตารางข้างล่างก่อน มีจุดที่ควรสังเกตคือ การแปรรูปคำนามของ dat. ส่วนใหญ่ใช้ร่วมกับ gen. ยกเว้นบางตัวที่เพิ่มเข้ามาใน m. sg. และ nt. sg. ในส่วนของสรรพนามนั้นเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นรูปชุดนี้จึงจำไม่ยาก

  -a/-ā -i -u
m. sg. assa
a āya
atthaṃ
issa
ino
ī issa
ī ino
ussa
uno
ū ussa
ū uno
m. pl. a ānaṃ i īnaṃ īnaṃ u ūnaṃ ūnaṃ
nt. sg. assa
a āya
atthaṃ
issa
ino
  ussa
uno
 
nt. pl. a ānaṃ i īnaṃ   u ūnaṃ  
f. sg. āya iyā ī iyā uyā ū uyā
f. pl. ānaṃ i īnaṃ īnaṃ u ūnaṃ ūnaṃ
สรรพนาม 1st person 2nd person 3rd person
ศัพท์ amha tumha ta
m./nt. sg. mayhaṃ, amhaṃ,
mama, mamaṃ, me
tuyhaṃ, tumhaṃ,
tava, te
tassa, assa
m./nt. pl. amhākaṃ, no tumhākaṃ, vo tesaṃ, nesaṃ
f. sg.     tassā, assā, tissā
f. pl.     tāsaṃ
  ta eta ima amu
m./nt. sg. tassa, assa etassa imassa, assa amussa, amuno
m./nt. pl. tesaṃ, nesaṃ etesaṃ imesaṃ amūsaṃ
f. sg. tassā, assā, tissā etassā, etissā imassā, assā amussā
f. pl. tāsaṃ etāsaṃ imāsaṃ amūsaṃ

หน้าที่หลักของ dat. คือการระบุกรรมรองของกริยารวมทั้งเป้าหมายของการกระทำ ในภาษาอังกฤษความหมายนี้สื่อด้วยบุพบท to หรือ for ตัวอย่างเช่น “ฉันซื้อหนังสือนี้ให้คุณ” (I buy this book for you.) ในประโยคนี้ this book เป็นกรรมตรงของ buy จึงใช้รูป acc. ส่วน you เป็นกรรมรองจึงใช้รูป dat. เขียนเป็นบาลีได้ดังนี้

  • ahaṃ tuyhaṃ idaṃ potathakaṃ kiṇāmi
    = I buy this book for you.

ตัวอย่างอื่น เช่น

  • sā bhaṇḍakānaṃ āpaṇaṃ gacchati
    = She goes to market for (buying) goods.
  • tvaṃ mama tassa mittassa sāsanaṃ pesesi
    = You send a letter to that friend of mine.
  • so dārako imassā dārikāya khajjakaṃ dadāti
    = That boy gives a candy to this girl.

เมื่อพูดถึงเป้าหมายของการกระทำบางครั้งเราจะสับสนกับ acc. โดยเฉพาะที่ใช้กับการไป เช่น He goes to school. เราใช้ acc. ดังนี้ so pāṭhasālaṃ gacchati แต่การใช้ความหมาย dat. ก็พอเข้าใจได้คือ so pāṭhasālāya gacchati (He goes for school.) ดังนั้นบางครั้งบางทีเราก็จะพบอะไรอย่างนี้ในคัมภีร์ (บางท่านว่าเป็นการใช้รูป gen.)

การที่รูป gen. มักยกมาเปรียบเทียบกับ dat. เพราะว่าทั้งสองแบบมีรูปเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้การวิเคราะห์ความหมายให้ชัดเจนทำได้ลำบาก ตัวอย่างเช่น

  • ahaṃ tuyhaṃ potthakaṃ dhāremi
    = I hold a book for you. (dat.)
  • ahaṃ tuyhaṃ potthakaṃ dhāremi
    = I hold your book. (gen.)

การจะตีความหมายให้ถูกต้องจึงไม่ได้อยู่ที่รูปคำอย่างเดียว ต้องพิจารณาบริบทประกอบด้วย ด้วยเหตุนี้กระมัง dat. จึงมีรูปที่ต่างออกไป (มีใช้เฉพาะ m./nt. sg. เท่านั้น) ดังตัวอย่างนี้

  • ahaṃ dārakāya/dārakatthaṃ potthakaṃ dhāremi
    = I hold a book for a boy. (dat.)
  • ahaṃ dārakassa potthakaṃ dhāremi
    = I hold a boy’s book. (gen.)

มีคำกริยาบางตัว แทนที่จะใช้กับ acc. เหมือนกริยาทั่วไป แต่กลับใช้กับ dat. ตัวอย่างที่เห็นบ่อย คือ raccati (to satisfy, to delight) ดูตัวอย่างข้างล่าง

  • gamanaṃ mayhaṃ ruccati
    = Going satisfies me.1
  • pabbajjā mama ruccati
    = Going forth satisfies me.2
  • Bhattaṃ me ruccati. Bhattaṃ pi tassa na ruccati
    = Food satisfies me, but food does not satisfy him.3 [pi (ind.) = but]

กริยา ruccati (to satisfy, to delight) ใช้กับกรรมรูป dat. เช่น

  • gamanaṃ mayhaṃ ruccati
    = Going satisfies me.

นอกจากนี้ dat. ยังใช้กับคำพิเศษบางประเภท เช่น bhabba (capable of, suitable to) abhabba (not capable of, not suitable to) kalla (suitable to) และ alaṃ (enough) เป็นต้น เราจะพูดถึงเรื่องนี้ในบทที่เกี่ยวข้องต่อไป

เชิงอรรถ

  1. Jā 22.2102 

  2. Jā 22.43 

  3. Sadd Dhā 17