อักษรบาลี
สิ่งแรกที่จะต้องรู้คือตัวอักษรที่เราจะใช้ ในที่นี้จะใช้อักษรโรมันเป็นหลัก เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการค้นคว้าด้วยสื่อระดับสากล รายละเอียดต่าง ๆ ไม่ได้จำเป็นมากนักขอให้อ่านจากหนังสือ จะแนะนำเพียงสรุป ด้านล่างจะมีตัวช่วยแปลงอักษรไทยบาลีเป็นโรมัน ผู้ศึกษาสามารถเรียนรู้อักษรบาลีแบบอื่น ๆ รวมทั้งใช้เครื่องมือช่วยแปลงที่สมบูรณ์กว่าด้วย Pāli Platform
อักษรโรมันบาลีมีดังนี้
a ā i ī u ū e o
k kh g gh ṅ
c ch j jh ñ
ṭ ṭh ḍ ḍh ṇ
t th d dh n
p ph b bh m
y r l v s h ḷ ṃ
เทียบกับอักษรไทยบาลีได้ดังนี้
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐ ฒ ฑ ณ
ต ถ ท ฑ น
ป ผ พ ภ ม
ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
แถวแรกเป็นสระ ที่เหลือเป็นพยัญชนะ ตัวสุดท้ายเรียกว่า นิคหิต ในตำราแนวขนบท่านจัดเป็นพยัญชนะด้วย เป็นการเพิ่มตัวสะกด (ง/ม) เข้าไป อักษรไทยใช้วงกลมข้างบน ส่วนอักษรโรมันใช้ ṃ (บางทีใช้ ṁ อย่างใน suttacentral.net ในตำราเก่าจะเห็นเป็น n หางยาว) อักษรโรมันใดที่ประกอบด้วย h เช่น kh gh ch เป็นต้น ถือว่าเป็นพยัญชนะตัวเดียว
ความแตกต่างสำคัญของสองระบบอยู่ที่การใช้สระอะ (a) อักษรโรมันจะคงรูปไว้ตลอด ส่วนอักษรไทยเมื่อเขียนเป็นบาลี สระอะจะไม่มีรูปวิสรรชนีย์ คือเมื่อประกอบกับพยัญชนะจะไม่ปรากฏ แต่เมื่อเป็นสระโดดจะเขียนเป็น อ ดังนั้นเมื่อพยัญชนะใดไม่มีสระ อักษรไทยจะใช้พินทุ (จุดล่าง) เพื่อแสดงว่าตัวนั้นเป็นพยัญชนะซ้อน (หรือเป็นตัวสะกดของสระข้างหน้า) ส่วนอักษรโรมันเมื่อไม่มีสระ รูปสระก็ไม่ปรากฏ ดูคาถาด้านล่างเป็นตัวอย่าง
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ, โก หิ นาโถ ปโร สิยา;
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน, นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.Attā hi attano nātho, ko hi nātho paro siyā;
Attanā hi sudantena, nāthaṃ labhati dullabhaṃ. (Dham 12.160)One [is] the guardian of his own self. Who else would be the guardian?
With oneself well-trained, [one] gets the guardian hard to obtain. (my translation)