สรรพนาม
บทนี้จะแนะนำนามอีกประเภทหนึ่งที่ใช้บ่อยมาก นั่นคือคำสรรพนาม (pronoun) โดยความหมายของคำ สพฺพนาม แปลว่า ชื่อของทุกสิ่ง มีหน้าที่สำคัญคือใช้แทนสิ่งต่าง ๆ (นามนามเป็นชื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ ส่วนสพฺพนามใช้แทนสิ่งเหล่านั้น) ว่าตามหลักไวยากรณ์คำสรรพนามมีหลายประเภท ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ใช้บ่อยที่สุด คือ บุรุษสรรพนาม (personal pronoun) กับ สรรพนามระบุชี้ (demonstrative pronoun)
ในตำราไวยากรณ์คำสรรพนามมีจำนวนจำกัดคือ 27 ตัวเท่านั้น ดังที่แสดงในสัททนีติดังนี้
Sabbanāmāni nāma—sabba katara katama ubhaya itara añña aññatara aññatama pubba para apara dakkhiṇa uttara adhara ya ta eta ima amu kiṃ eka ubha dvi ti catu tumha amha—iccetāni sattavīsa.1
ในที่นี้จะพูดถึง ta eta ima amu tumha amha เท่านั้น ส่วนคำอื่น ๆ จะกล่าวถึงในบทที่เกี่ยวข้องต่อไป
บุรุษสรรพนาม
ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษหรือไทย (ไม่ใช่บาลี) บุรุษสรรพนามมีสามอย่าง คือ สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ใช้แทนผู้พูด (I, we) สรรพนามบุรุษที่สอง ใช้แทนคู่สนทนา (you) และสรรพนามบุรุษที่สาม ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง (he, she , it, they)2
- สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง (uttama) = I, we
- สรรพนามบุรุษที่สอง (majjhima) = you
- สรรพนามบุรุษที่สาม (paṭhama) = he, she, it, they
การแปรรูปบุรุษสรรพนามเป็น nom. แสดงไว้ในตารางด้านล่าง ควรจดจำให้ขึ้นใจเพราะรูปเหล่านี้ใช้บ่อยมาก สรรพนามบุรุษที่หนึ่งและสองมีรูปเดียวกันทั้งสามเพศจึงแสดงไว้เพียงชุดเดียว
สรรพนาม | 1st person | 2nd person | 3rd person |
ศัพท์ | amha | tumha | ta |
ความหมาย | I–we | you–you | he/she/it–they |
m. sg. | ahaṃ | tvaṃ, tuvaṃ | so |
m. pl. | mayaṃ, no | tumhe, vo | te |
f. sg. | sā | ||
f. pl. | tā | ||
nt. sg. | taṃ | ||
nt. pl. | tāni |
การใช้สรรพนามเหล่านี้เป็นประธานทำได้ง่าย ๆ โดยประกอบเข้ากับนามอื่นและ/หรือบทขยาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ahaṃ dārako = I (am) a boy.
- mayaṃ dārakā = We (are) boys.
- tvaṃ dārikā = You (are) a girl.
- tumhe dārikāyo = You (are) girls.
- so dhanavā = He (is) rich.
- sā sundarā = She (is) beautiful.
- taṃ atthavaṃ potthakaṃ = It (is) a useful book.
- tāni dhanavantāni kulāni = They (are) rich families.
ในตารางการแปรรูปของสรรพนามบุรุษที่หนึ่งและสอง เราจะเห็นรูปย่อ (enclitic) คือ no (มีความหมายเหมือน mayaṃ) กับ vo (มีความหมายเหมือน tumhe) นอกจากนี้ยังมี me กับ te (ไม่ใช่ te ที่มาจาก ta) ซึ่งจะเห็นในบทอื่น คำสั้นเหล่านี้สะดวกต่อการใช้งาน แต่ข้อเสียคือทำให้ความชัดเจนลดลง เพราะอาจจะตีความเป็นอย่างอื่นได้เพราะมีรูปพ้องกับคำอื่น การใช้รูปสรรพนามย่อมีกฎคือจะไม่นำประโยค ตัวอย่างเช่น
- paññāvantā no dārakā = We (are) wise boys.
- sundarāyo vo dārikāyo = You (are) beautiful girls.
บทสรรพนามย่อ เช่น no vo (me te) จะไม่นำประโยค
เป็นการดีสำหรับผู้เริ่มเรียนที่จะหลีกเลี่ยงการใช้รูปย่อเหล่านี้ก่อน เพราะอาจทำให้สับสน และถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรใช้เลย เพราะความชัดเจนในการสื่อสารสำคัญกว่าความสะดวกใช้ แต่เมื่อท่านอ่านคัมภีร์ความรู้นี้จะมีประโยชน์
สรรพนามระบุชี้
demonstrative pronoun คือ สรรพนามที่ใช้ชี้ ที่ใช้ทั่วไปในภาษาไทยคือ นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น ในภาษาบาลีคำในกลุ่มนี้ได้แก่ ta eta ima และ amu3 ซึ่งมีรูป nom. ตามที่แสดงดังต่อไปนี้
ta | eta | ima | amu | |
---|---|---|---|---|
m. sg. | so | eso | ayaṃ | asu |
m. pl. | te | ete | ime | amū |
f. sg. | sā | esā | ayaṃ | asu |
f. pl. | tā | etā | imā | amū |
nt. sg. | taṃ | etaṃ | idaṃ, imaṃ | aduṃ |
nt. pl. | tāni | etāni | imāni | amūni |
จะเห็นว่า ta คือตัวเดียวกันกับที่ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่สาม มีการแปรรูปเหมือนกันแต่ความหมายไม่เหมือนกัน ต้องดูตามบริบท โดยทั่วไปภาษาไทยจะแปลคำเหล่านี้ดังนี้ ta (นั้น) eta (นั่น) ima (นี่ นี้) และ amu (โน่น โน้น) บางครั้งเราจะสับสนระหว่างการใช้ ta กับ eta ให้ดูสรุปข้างล่าง
คำอธิบายตามตำรามีดังนี้
- ta ใช้ระบุถึงสิ่งที่ไม่ปรากฏขณะพูด (parammukkhā) = that
- eta ใช้ระบุถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ (samīpa) = this/that
- ima ใช้ระบุถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ชิด (accantasamīpa) = this
- amu ใช้ระบุถึงสิ่งที่อยู่ไกลออกไป (dūra) แต่ยังมองเห็น = yonder
ตัวอย่างการใช้เป็นสรรพนามระบุชี้มีดังนี้ (อย่าเพิ่งสนใจกริยา hoti/honti ที่เพิ่มเข้ามา)
- so dārako hoti
= That (mentioned) is a boy.
= คน (ที่พูดถึง) นั้นคือเด็กผู้ชาย- te dārakā honti
= Those (mentioned) are boys.
= คนทั้งหลาย (ที่พูดถึง) นั้นคือเด็กผู้ชาย- esā dārikā hoti
= That is a girl.
= นั่นคือเด็กผู้หญิง
= คน (ที่ยืนอยู่ตรง) นั้นคือเด็กผู้หญิง- ete dārikāyo honti
= Those are girls.
= นั่นคือเด็กผู้หญิงทั้งหลาย
= คนทั้งหลาย (ที่ยืนอยู่ตรง) นั้นคือเด็กผู้หญิง- idaṃ potthakaṃ hoti
= This is a book.- imāni potthakāni honti
= These are books.- asu pabbato hoti
= That is a mountain (over there).- amū pabbatā honti
= Those are mountains (over there).
นอกจากนี้ในการสนทนา ta อาจจะหมายถึงสิ่งที่กล่าวถึงก่อนหน้านั้น ส่วน eta ใช้ชี้ไปที่สิ่งที่กำลังพูด ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าท่านกับเพื่อนไปที่ร้านหนังสือ ท่านชี้ไปที่หนังสือเล่มหนึ่งแล้วพูดว่า That book is big. เพื่อนท่านตอบว่า That is useful. ในกรณีนี้ that แรกเป็น eta ส่วน that หลังเป็น ta ทำเป็นบาลีได้ดังนี้
- etaṃ potthakaṃ thūlaṃ
= That book is big.- taṃ atthavaṃ
= That is useful.
(= It is useful. เมื่อ taṃ เป็นบุรุษสรรพนาม)
สรรพนามใช้เป็นบทขยายได้
นอกจากจะใช้เป็นคำสรรพนามแล้ว คำระบุชี้เหล่านี้ยังสามารถทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ได้ด้วย เรียกว่า pronominal adjective (คำเทคนิคเรียกว่าวิเสสนสัพพนาม) ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- so dārako
= that boy
= เด็กชายนั้น
= เด็กชายคน (ที่พูดถึง) นั้น- te dārakā
= those boys
= เด็กชายเหล่านั้น
= เด็กชายทั้งหลาย (ที่พูดถึง) นั้น- esā dārikā
= that girl
= เด็กหญิงนั่น
= เด็กหญิงคน (ที่ยืนอยู่ตรง) นั้น- etā dārikāyo
= those girls
= เด็กหญิงทั้งหลายนั่น
= เด็กหญิงทั้งหลาย (ที่ยืนอยู่ตรง) นั้น- idaṃ potthakaṃ
= this book- imāni potthakāni
= these books- asu pabbato = asuko pabbato = amuko pabbato
= that mountain (over there)- amū pabbatā = asukā pabbatā = amukā pabbatā
= those mountains (over there)
จะเห็นว่าเมื่อไม่มีกริยา เป็น/อยู่/คือ ปรากฏให้เห็น เราอาจจะตีความหมายได้สองทาง นั่นคือ so dārako อาจจะหมายถึง เด็กชายคนนั้น หรือ คนนั้นคือเด็กชาย ก็ได้ ดังนั้นจึงต้องดูบริบทของประโยคด้วยว่าจะควรแปลเป็นอะไร บางครั้งคำระบุชี้จะใช้ร่วมกับบุรุษสรรพนาม ดังนั้นจึงควรแยกแยะให้ดี ตัวอย่างเช่น
- ayaṃ dārako, so paññāvā = This (is) a boy. He (is) wise.4
ลำดับคำมีผลต่อความชัดเจน
เนื่องจากคำระบุชี้สามารถเป็นสรรพนามก็ได้และเป็นบทขยายก็ได้ การวางตำแหน่งคำในประโยคจะช่วยสร้างความชัดเจนได้ เช่น idaṃ thūlaṃ potthakaṃ จะดูเหมือนมีบทขยายสองตัวคือเท่ากับ this big book แต่ idaṃ potthakaṃ thūlaṃ (hoti) เท่ากับ This book (is) big. ส่วน idaṃ potthakaṃ (hoti) thūlaṃ เท่ากับ This (is) a big book. และ idaṃ (hoti) thūlaṃ potthakaṃ ก็เท่ากับ This (is) a big book. สุดท้าย idaṃ thūlaṃ (hoti) potthakaṃ อาจแปลได้ว่า This fat thing (is) a book. ซึ่งมีความหมายต่างกันนิดหน่อย
- idaṃ thūlaṃ potthakaṃ = this big book
- idaṃ potthakaṃ thūlaṃ (hoti) = This book (is) big.
- idaṃ potthakaṃ (hoti) thūlaṃ = This (is) a big book.
- idaṃ (hoti) thūlaṃ potthakaṃ = This (is) a big book.
- idaṃ thūlaṃ (hoti) potthakaṃ = This fat thing (is) a book.
มาถึงจุดนี้ผู้ศึกษาจะเห็นได้ว่า ความแตกต่างกันเล็กน้อย (nuance) ทางความหมายที่กล่าวมาทั้งหมดเข้าใจได้ยากกว่าเมื่อแปลเป็นภาษาไทย และเนื่องจากการเรียนตามขนบมีรูปแบบการแปลที่วางไว้ชัดเจนแล้ว ผู้ศึกษาจึงมักไม่ทดลองคิดนอกกรอบเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้น
เชิงอรรถ
-
Sadd Pad 12 ↩
-
ตามหลักบาลีไวยากรณ์สรรพนามบุรุษที่หนึ่งเรียกว่า อุตตมบุรุษ สรรพนามบุรุษที่สองเรียกว่า มัชฌิมบุรุษ และสรรพนามบุรุษที่สามเรียกว่า ปฐมบุรุษ เราจะไม่ใช้การเรียกแบบนี้เพราะจะทำให้สับสน แต่ผู้ศึกษาก็ควรรู้ไว้ ↩
-
คำที่ใช้แทน amu ได้คือ asuka กับ amuka ต่างกันที่ amu เป็นสรรพนามมีการแปรรูปแบบเฉพาะ ส่วนอีกสองคำเป็นคุณนามแปรรูปตามหลักทั่วไป ทั้งหมดนี้มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้เป็นส่วนใหญ่ ↩
-
ตามแบบนิยมประโยคนี้ควรใช้โครงสร้าง ya-ta (จะกล่าวถึงในบทที่เกี่ยวข้อง) คือ yo ayaṃ dārako, so paññāvā แปลได้ว่า Which this (person is) a boy, that (person is) rich. หรือเป็นภาษาไทยว่า บุคคลใดนี้คือเด็กชาย บุคคลนั้นมีปัญญา ↩