สรุปการแปรรูปนาม
บทนี้เราจะมาสรุปหัวใจสำคัญของภาคต้น อาจจะกล่าวได้ว่านี่เป็นหัวใจสำคัญของบาลีไวยากรณ์ก็ได้ ถ้าผู้ศึกษาไม่เข้าใจเรื่องนี้ ถือว่าไม่เข้าใจภาษาบาลี เรื่องที่ว่าก็คือการแปรรูปนามตามหน้าที่ทั้ง 8 เคส1 ในบทนี้เราจะสรุปเฉพาะการใช้งานสำคัญ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยผู้ศึกษาสามารถค้นคว้าต่อไปได้เองในบทที่ 38 ของ Pāli for New Learners, Book 1
สรุปหน้าที่ของ 8 เคส
เพื่อความเข้าใจภาพรวม หน้าที่ของทั้ง 8 เคสสามารถสรุปได้ตามตารางข้างล่างนี้ ขอย้ำอีกครั้งว่าทั้งหมดนี้ใช้กับคำประเภทนามเท่านั้น คือ คำนาม (ทั่วไปและเฉพาะ) คำคุณศัพท์ (บางคำก็เป็นคำนามได้) และคำสรรพนาม (บางคำไม่มีรูป voc.)
ชื่อบาลี | เคส | หน้าที่ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1. paṭhamā | nominative (nom.) | subject | สัมพันธ์กับกริยาในฐานะประธาน |
2. dutiyā | accusative (acc.) | direct object | สัมพันธ์กับกริยาในฐานะกรรมตรง และเป็นจุดหมายของการเคลื่อนที่ |
3. tatiyā | instrumental (ins.) | object of by, with, through | สัมพันธ์กับกริยาในฐานะเครื่องมือที่ใช้กระทำ หรือสิ่งที่กระทำร่วมกัน (รวมทั้งสาเหตุ) |
4. catuṭṭhī | dative (dat.) | object of to, for (indirect object) | สัมพันธ์กับกริยาในฐานะกรรมรอง |
5. pañcamī | ablative (abl.) | object of from | สัมพันธ์กับกริยาในฐานะแหล่งที่มาของการกระทำ รวมถึงสาเหตุและแรงจูงใจ |
6. chaṭṭhī | genitive (gen.) | possessive (of, ‘s) | สัมพันธ์กับนามอื่นในฐานะเจ้าของ (รวมทั้งการใช้งานอื่น ๆ เช่นใช้แทน acc. ได้) |
7. sattamī | locative (loc.) | object of in, on, at | สัมพันธ์กับกริยาในฐานะตัวแสดงสถานที่และเวลาของการกระทำ (รวมทั้งสาเหตุ) |
8. ālapana | vocative (voc.) | addressing | ใช้เรียกคู่สนทนา |
ตารางการแปรรูปนาม
ภาระใหญ่ของผู้เริ่มเรียนภาษาบาลีคือต้องจำกฎการแปรรูปต่าง ๆ ให้ได้ ซึ่งมีไม่น้อย ในการศึกษาแนวขนบเขาจะให้ท่องตามแบบ มีทั้งแบบปกติและแบบพิเศษ ในภาคต้นนี้เราจะสนใจเฉพาะการแปรรูปนามแบบปกติและสรรพนามที่ใช้บ่อย ผู้ศึกษาควรจะทำความคุ้นเคยและจำให้ได้ ตอนผู้เขียนเริ่มเรียนใหม่ ๆ จะใช้วิธีเขียนทดลงกระดาษแทนการท่องด้วยปาก ทำอย่างนี้ทุกวันสักเดือนหนึ่งก็จะจำได้เอง
ตารางการแปรรูปนามตามแนวขนบได้แสดงไว้เป็นโปรแกรมให้เลือกข้างล่าง ผู้เรียนควรจะศึกษาทุกกรณีให้ทั่วถึง รูปที่แสดงในที่นี้อาจจะมีมากกว่าที่เคยสรุปไว้ใบบทเรียน
นามปกติ
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |
สรรพนาม
Case | Singular | Plural |
---|---|---|
1. nom. | ||
2. acc. | ||
3. ins. | ||
4. dat. | ||
5. abl. | ||
6. gen. | ||
7. loc. | ||
8. voc. |
เชิงอรรถ
-
ในภาษาไวยากรณ์มักจะเรียกว่า 7 วิภัตติ คือ nom. กับ voc. จะใช้วิภัตติเดียวกัน แต่ทำกันคนละหน้าที่ ถ้าว่ากันโดยหน้าที่ก็มักจะพูดถึง 6 การก (ไม่รวม gen. กับ voc.) อันนี้เป็นเหตุผลที่ผู้เขียนหลีกเลี่ยงการใช้คำว่าวิภัตติและการก เพราะมันทำให้งงมากกว่าสร้างความเข้าใจ การใช้ nom. เข้าใจได้ง่ายกว่าพูดว่า วิภัตติที่หนึ่ง ซึ่งไม่ได้สะท้อนหน้าที่ทางไวยากรณ์เลย และโดยคำแล้ว วิภัตติ (classification) ไม่ได้มีความหมายพิเศษอะไร แม้การแปรรูปกริยาก็ใช้คำนี้เหมือนกัน อีกอย่างหนึ่งวิภัตติมีความหมายต่างจากการก วิภัตติเป็นเพียงรูปที่ปรากฏแต่การกหมายถึงหน้าที่ของคำที่สัมพันธ์กับกริยาในประโยค การกเป็นเรื่องซับซ้อนเหมาะกับนักภาษาศาสตร์มากกว่าเพื่อการใช้งาน เราจึงไม่พูดถึงเรื่องนี้ ผู้สนใจอ่านได้จากหนังสือของผู้เขียน ในที่นี้การทำความเข้าใจ 8 เคสถือว่าเพียงพอแล้วต่อการใช้งาน ↩