ความเป็นเจ้าของ
สารบัญ
บทนี้เราจะเรียนรู้การแต่งประโยคที่แสดงว่า เรามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ในการแสดงว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอยู่เราจะใช้กริยาเป็น/อยู่/คือแสดงสถานะของสิ่งนั้น แต่ในการแสดงว่าเรามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ภาษาบาลีไม่มีกริยา to have เหมือนอังกฤษ1 วิธีการแสดงว่าใครมีอะไรในบาลียังใช้กริยาเป็น/อยู่/คือเป็นหลัก (แต่มักจะใช้ชุดของ atthi) พร้อมกับการแสดงความเป็นเจ้าของ
นั่นคือแทนที่จะพูดว่า “ฉันมีหนังสือ” (I have a book.) ในภาษาบาลีจะเป็น “หนังสือของฉันมีอยู่” (My book exists.) หรือ “หนังสือเป็นของฉัน” (A book is mine.) สิ่งที่เราต้องเรียนรู้เพิ่มในที่นี้คือ การแปรรูปนาม (รวมทั้งบทขยายและสรรพนาม) ให้ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของ เทียบได้กับ of หรือ ‘s ในภาษาอังกฤษ ตามหลักไวยากรณ์อันนี้เรียกว่า genitive case ต่อไปจะย่อเป็น gen.
Genitive case
หลักการทั่วไปเหมือนกับ nom. การแปรรูปนามใดให้เป็น gen. ให้ดูว่าศัพท์นั้นเป็นเพศอะไรและมีอักษรท้ายเป็นอะไร ส่วนการแปลงให้ดูตามตารางข้างล่าง
-a/-ā | -i | -ī | -u | -ū | |
---|---|---|---|---|---|
m. sg. | assa | issa ino | ussa uno | ||
m. pl. | īnaṃ | ūnaṃ | |||
nt. sg. | assa | issa ino | ussa uno | ||
nt. pl. | |||||
f. sg. | āya | iyā | uyā | ||
f. pl. | ānaṃ | īnaṃ | ūnaṃ |
เหมือนจะมีอะไรให้จำมาก แต่ถ้าดูดี ๆ จะพบว่า ลักษณะเด่นของ case นี้คือ ssa (m./nt. sg.) และ naṃ (pl.)2 ชุดของ nt. นั้นแปรรูปเหมือนกับของ m. ทุกประการยกเว้นไม่มีอักษรท้ายยาว ส่วน pl. ใช้รูปเหมือนกันทั้งสามเพศ ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษคือ ino กับ uno ซึ่งจะพบบ่อยกว่ารูป issa กับ ussa ส่วนของ f. นั้นจำได้ไม่ยาก (และยังมีรูปซ้ำกับเคสอื่น ๆ อีก ดังจะได้เห็นต่อไป) ตัวอย่างการประกอบประโยคด้วยนามที่เป็น gen. มีดังนี้
- dārakassa potthakaṃ atthi
= A boy’s book exists.
= A boy has a book.- dārakānaṃ potthakaṃ atthi
= Boys’ book exists.
= Boys have a book.- dārakassa potthakāni santi
= A boy’s books exist.
= A boy has books.- dārakānaṃ potthakāni santi
= Boys’ books exist.
= Boys have books.- dārikāya sundarā hatthā santi
= A girl’s beautiful hands exist.
= A girl has beautiful hands.- dārikānaṃ sundarā hatthā santi
= Girls’ beautiful hands exist.
= Girls have beautiful hands.- paññāvantassa/paññāvato dārakassa atthavaṃ potthakaṃ atthi
= A wise boy’s useful book exists.
= A wise boy has a useful book.- paññāvantānaṃ/paññāvataṃ dārakānaṃ atthavanti potthakāni santi
= Wise boys’ useful books exist.
= Wise boys have useful books.- mahato balavato hatthino dīghāni sundarāni dantāni santi
= A big, strong elephant has long, beautiful ivories.
(จะใช้ mahantassa balavantassa hatthissa … ก็ได้)
จุดที่ควรสังเกตคือ ในประโยคแรกประธานของประโยคคือ potthakaṃ (nom.) คำกริยาจึงต้องสอดคล้องกับตัวนี้ (atthi) ส่วน dārakassa (gen.) ทำหน้าที่เหมือนเป็นบทขยายของประธาน ซึ่งอาจจะเป็นพหูพจน์ก็ได้อยู่ที่ความหมายที่ต้องการจะสื่อ สามประโยคสุดท้ายแสดงให้เห็นว่าบทขยายของนามใดต้องมีรูปตรงกับนามนั้น อันนี้เป็นกฎที่ต้องจำไว้
บทขยายของนามใดจะต้องมีรูปที่แปรแล้วตามนามนั้น
เมื่อเรารู้การแปรรูปของคำนามกับบทขยายแล้วก็ควรจะเรียนการแปรรูปสรรพนามไปพร้อมกัน โดยรูป gen. ของบุรุษสรรพนามสรุปได้ดังนี้
สรรพนาม | 1st person | 2nd person | 3rd person |
ศัพท์ | amha | tumha | ta |
ความหมาย | my–our | your–your | his/her/its–their |
m./nt. sg. | mayhaṃ, amhaṃ, mama, mamaṃ, me | tuyhaṃ, tumhaṃ, tava, te | tassa, assa |
m./nt. pl. | amhākaṃ, no | tumhākaṃ, vo | tesaṃ, nesaṃ |
f. sg. | tassā, assā, tissā | ||
f. pl. | tāsaṃ |
ส่วนรูปต่าง ๆ ของคำระบุชี้แสดงไว้ในตารางข้างล่าง จะเห็นว่า m. และ nt. ใช้รูปร่วมกันทั้งหมด
ta | eta | ima | amu | |
---|---|---|---|---|
m./nt. sg. | tassa, assa | etassa | imassa, assa | amussa, amuno |
m./nt. pl. | tesaṃ, nesaṃ | etesaṃ | imesaṃ | amūsaṃ |
f. sg. | tassā, assā, tissā | etassā, etissā | imassā, assā | amussā |
f. pl. | tāsaṃ | etāsaṃ | imāsaṃ | amūsaṃ |
ตัวอย่างการใช้มีดังต่อไปนี้
- mayhaṃ thūlaṃ potthakaṃ atthi
= My big book exists.
= I have a big book.- tuyhaṃ sundarāni akkhīni santi
= Your beautiful eyes exist.
= You have beautiful eyes.- idaṃ no thūlaṃ potthakaṃ atthi
= We have this big book.- tesaṃ taṃ potthakaṃ natthi
= They do not have that book.- mama puttassa taṃ potthakaṃ atthi
= My son has that book.- tassā dārikāya taṃ atthavaṃ potthakaṃ atthi
= That girl has that useful book.
ข้อที่ควรสังเกตจากตัวอย่างคือ การปฏิเสธความมีอยู่ให้เพิ่ม na (not) เข้าไป นั่นคือถ้าไม่มีสิ่งใดให้ใช้ natthi (na + atthi) ถ้าเป็นรูปอื่นก็เป็น na santi เป็นต้น3 ประโยคตัวอย่างสุดท้ายแสดงให้เห็นว่า ta ทั้งสองตัวขยายนามคนละตัวกันจึงใช้คนละรูป คือ ta แรกเป็น gen. และ ta หลังเป็น nom.
mama tava potthakaṃ atthi =? I have your book.
ประโยคที่ยกไว้นี้มีความแปลก โดยความหมายแปลได้ว่า My your book exists. ส่วนจะแปลเป็น I have your book. ได้หรือไม่ยังเป็นปัญหา อันนี้เป็นผลจากการใช้เป็น/อยู่/คือในการการแสดงความเป็นเจ้าของ ถ้าคิดให้ดี ฉันไม่สามารถจะมีหนังสือที่ท่านมีได้ เพราะหนังสือเป็นของท่านไม่ใช่ของฉัน แม้ว่าฉันจะเก็บมันไว้กับตัว หนังสือก็ยังเป็นของท่านอยู่นั่นเอง ในกรณีอย่างนี้เราอาจจะต้องใช้กริยาคำอื่น เช่น ahaṃ tava potthakaṃ dhāremi (I hold your book.) เราอาจจะแก้ปัญหานี้ด้วยโครงสร้าง ya-ta ก็ได้ (ดูในบทที่เกี่ยวข้อง)
มีการใช้งานอีกอย่างหนึ่งของ gen. ที่ควรพูดถึงตอนนี้ คือการใช้ในประโยค “Of those …” หรือ “Among those …” เป็นการแยกสิ่งที่สนใจออกจากกลุ่ม (singling out)4 มีตัวอย่างดังนี้
- etesaṃ janānaṃ tvaṃ kusalo/kusalā hosi
= Of those people, you are a clever one.
เชิงอรรถ
-
ที่ใกล้สุดคือ to hold ซึ่งอาจจะใช้ dhāreti หรือ gaṇhāti ↩
-
สำหรับนามที่แปรรูปแบบพิเศษ อาจจะมีรูปที่ต่างออกไป ให้ดูที่ตารางต่าง ๆ ใน Appendix B.4 ของ Pāli for New Learners, Book 1 ตัวอย่างเช่น คำในชุด guṇavantu มีรูป gen. คือ guṇavantassa หรือ guṇavato (sg.) และ guṇavantānaṃ หรือ guṇavataṃ (pl.) ↩
-
กรณีที่มี na แยกกัน อาจจะโยก na ไว้หน้าประโยคก็ได้ หรือเราจะใช้ atthi/natthi แบบ indeclinable คือไม่ขึ้นอยู่กับพจน์ของประธานก็ได้ ↩
-
คำเทคนิคเรียกว่า niddhāraṇa ใช้ได้ทั้ง gen. และ loc. ในกรณีนี้ศัพท์ทางไวยากรณ์อาจเรียกว่า partitive genitive ↩