Skip to main content Link Menu Expand (external link) Document Search Copy Copied

เป็น/อยู่/คือ

สารบัญ

บทนี้จะแนะนำคำกริยาเป็นเบื้องต้น เรื่องคำกริยาในไวยากรณ์บาลีเป็นเรื่องใหญ่และมีความยากในการทำความเข้าใจ ในที่นี้จึงไม่ได้สอนตามตำราไวยากรณ์ เพียงแนะนำการใช้งานพอให้เข้าใจ โดยเราจะเริ่มที่คำกริยาที่ใช้มากที่สุด นั่นคือ to be หรือ เป็น/อยู่/คือ ในบาลีมีสามคำที่ใช้ในความหมายนี้ ได้แก่ hoti bhavati และ atthi ทั้งสามคำความจริงมีการใช้ที่ต่างกันเล็กน้อย (ต่อเมื่อท่านได้อ่านคัมภีร์ไปพอสมควรจะเห็นได้ จะมองว่าเป็นเรื่องสไตล์ก็ได้ เช่น atthi มักใช้ในความหมายว่า มีอยู่) แต่ในที่นี้ให้ถือง่าย ๆ ว่ากริยาทั้งสามตัวนี้ใช้แทนกันได้

จากที่เคยอธิบายไว้ว่าคำ (ส่วนมาก) ในประโยคบาลีจะถูกแปรรูปไปตามหน้าที่ กริยาก็เช่นกัน แต่การแปรรูปของกริยาจะต่างจากนาม เราเรียกว่า conjugation ซึ่งทีสิ่งที่ต้องคำนึง 4 อย่าง คือ tense/mood, person, number, และ voice (ใช้ภาษาไทยจะทำให้งงมากขึ้น)

รูปที่แปรแล้วของคำกริยาสามารถบอกข้อมูล 4 อย่าง ดังนี้

  1. tense/mood (กาล) ได้แก่ ปัจจุบัน อดีต อนาคต คำสั่ง (imperative) คำแนะนำ/คาดคะเน (optative) และเงื่อนไข (conditional)
  2. person (บุรุษ) ได้แก่ บุรุษที่หนึ่ง บุรุษที่สอง และ บุรุษที่สาม (ตามความหมายของสรรพนาม)
  3. number (พจน์) ได้แก่ เอกพจน์ กับ พหูพจน์
  4. voice (บท) ได้แก่ active voice (ปรัสสบท) กับ middle voice (อัตตโนบท)1

ที่ยกขึ้นมาข้างต้น hoti bhavati และ atthi เป็นรูปตามพจนานุกรม แต่ก็เป็นรูปที่ถูกแปรแล้วตามหน้าที่ สำหรับคำกริยาเราจะไม่พูดถึงรูปดิบเหมือนที่เราพูดถึงคำนามต่าง ๆ (รูปดิบจริง ๆ ของกริยาคือธาตุ ซึ่งจะไม่อธิบายในที่นี้) แต่จะพูดถึงรูปนิยมทั่วไป (canonical form) คือ รูปปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์ ปรัสสบท (active voice) เพื่อให้เห็นภาพจะแสดงรูปปัจจุบันกาลของกริยาทั้งสามเฉพาะที่เป็น active voice ตามตารางข้างล่าง ทั้งหมดนี้ควรจำให้ขึ้นใจ ในชุดของ atthi มีการแปรรูปแบบเฉพาะจึงควรใส่ใจเป็นพิเศษ

กริยา บุรุษ เอกพจน์ พหูพจน์
hoti 3rd hoti honti
  2nd hosi hotha
  1st homi homa
bhavati 3rd bhavati bhavanti
  2nd bhavasi bhavatha
  1st bhavāmi bhavāma
atthi 3rd atthi santi
  2nd asi attha
  1st amhi, asmi amha, asma

การใช้รูปกริยาเหล่านี้ในประโยคบอกเล่าส่วนมากจะวางไว้ท้ายประโยค ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ให้สังเกตว่าการใช้กริยาไม่ขึ้นกับเพศ เพียงแต่เพศของคำต้องสอดคล้องกับเพศบุคคลจริง)

  • ahaṃ dārako/dārikā homi
    = I am a boy/girl.
  • mayaṃ dārakā/dārikāyo homa
    = We are boys/girls.
  • tvaṃ dhanavā/dhanavatī hosi
    = You are rich.
    = You are a rich person.
  • tumhe paññāvanto/paññāvatiyo hotha
    = You are wise.
    = You are wise people.
  • taṃ atthavaṃ potthakaṃ hoti
    = It is a useful book.
    = That is a useful book.
  • tāni atthavanti potthakāni honti
    = They/Those are useful books.

ทั้งหมดนี้สามารถแทนกริยาชุด hoti ด้วย ชุดของ bhavati หรือ atthi ได้โดยมีความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปการเปลี่ยนตำแหน่งไม่มีผลต่อความหมาย (แต่มีผลต่อการเน้น) แต่บางครั้งทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเล็กน้อย ดังตัวอย่างดังนี้

  • atthavaṃ potthakaṃ hoti
    = There is a useful book.
  • atthavaṃ hoti potthakaṃ
    = There is a useful book.
  • hoti atthavaṃ potthakaṃ
    = There is a useful book.
  • potthakaṃ atthavaṃ hoti
    = A book is useful.
  • potthakaṃ hoti atthavaṃ
    = There is a useful book.
  • hoti potthakaṃ atthavaṃ
    = There is a useful book.
  • taṃ atthavaṃ potthakaṃ hoti
    = That is a useful book.
    = That useful thing is a book.
  • taṃ potthakaṃ atthavaṃ hoti
    = That book is useful.
  • taṃ atthavaṃ hoti potthakaṃ
    = That useful thing, a book, exists.
  • taṃ potthakaṃ hoti atthavaṃ
    = That book is useful.
    = That book is a useful thing.
    = That book exists, being useful.
  • taṃ hoti atthavaṃ potthakaṃ
    = It exists, a useful book.
  • taṃ hoti potthakaṃ atthavaṃ
    = That book exists, being useful.

ทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์อย่างละเอียด แต่ในการใช้จริงความหมายอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยเมื่อตำแหน่งเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในการแต่งฉันท์ อีกอย่างหนึ่งการขึ้นต้นประโยคด้วยคำกริยา เป็นวิธีหนึ่งในการทำประโยคคำถาม (ดูที่ การตั้งคำถามเบื้องต้น) ฉะนั้นประโยคที่ขึ้นด้วย hoti อาจจะมองเป็นคำถามก็ได้ เช่น hoti atthavaṃ potthakaṃ? = Is there a useful book? (กรณีอย่างนี้เรามักจะเห็น atthi atthavaṃ potthakaṃ? มากกว่า)

อย่างไรก็ดี เมื่อมีบทขยายหลายบท รูปแบบที่นิยมในคัมภีร์คือการวางบทขยายส่วนใหญ่ไว้หลังกริยา ดังตัวอย่างข้างล่าง

  • tā dārikā hoti sundarā dhanavatī paññāvatī
    = She is a beautiful, rich, wise girl.
    = That girl is beautiful, rich, (and) wise.
  • tā sundarā dārikā hoti dhanavatī paññāvatī
    = She is a beautiful, rich, wise girl.
    = That beautiful girl is rich (and) wise.

เชิงอรรถ

  1. อันนี้เป็นหลักโบราณ เรื่องนี้เข้าใจยากมากเมื่ออธิบายด้วยไวยากรณ์ไทยเพราะเราไม่มี active/passive voice ส่วนภาษาอังกฤษก็ยังถือว่ายากเพราะไวยากรณ์อังกฤษไม่มี middle voice (เรื่องนี้จะอธิบายเมื่อเราพูดถึงประโยค passive voice) แม้แต่บาลีที่จารึกไว้ในคัมภีร์ก็ใช้ปรัสสบทเป็นหลัก เราจะพบอัตตโนบทได้ส่วนมากก็ในคาถาที่มีความเก่าแก่ กล่าวได้ว่าอัตตโนบทนั้นเลิกใช้แล้วตั้งแต่ยุคจารึกคัมภีร์ ที่เราต้องเรียนไว้เพราะในคัมภีร์ยังมีรูปเหล่านี้อยู่แม้ไม่มากนัก ส่วนในทางปฏิบัติรู้ปรัสสบทอย่างเดียวให้ดีก็ถือว่าเพียงพอ