Skip to main content Link Menu Expand (external link) Document Search Copy Copied

ดูกร

สารบัญ

การแปรรูปนามแบบสุดท้ายที่จะเรียนในบทนี้ไม่ได้มีหน้าที่สำคัญทางไวยากรณ์ เป็นเพียงตัวช่วยในการสนทนา มีหน้าที่เรียกคู่สนทนาเพื่อให้รู้ว่าเรากำลังพูดกับใคร อาจเป็นการเรียกชื่อ สถานะ หรือตำแหน่งด้วยความสุภาพ เช่น คุณสุพล พระคุณเจ้า ท่านผ.อ. ท่านสมาชิกฯ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษอาจจะใช้ Mr./Mrs./Miss/Ms. Smith หรือ Sir, Madam, Your Excellency, และ Venerable เป็นต้น เราเรียกรูปเหล่านี้ว่า vocative case ต่อไปจะย่อว่า voc. ในภาษาบาลีการใช้คำเรียก (อาลปนะ) ถือเป็นเรื่องปกติ คือจะพบได้ทุก ๆ คำสนทนา คำประเภทนี้มีอยู่สองแบบ แบบแรกเป็นการแปรรูปนามหรือชื่อคนให้เป็นรูป voc. ส่วนอีกแแบบหนึ่งเป็นการใช้คำสำเร็จรูป (ind.)

Vocative case

การแปรรูปคำนามให้เป็น voc. ทำได้ตามตารางข้างล่าง สังเกตได้ว่ารูปส่วนใหญ่ตรงกับ nom. มีต่างกันเพียงเล็กน้อย คือถ้าเป็นเอกพจน์มักจะทำเสียงให้สั้น คำสรรพนามส่วนใหญ่ไม่มีรูป voc. นั่นคือเราไม่สามารถจะเรียกคู่สนทนาง่าย ๆ ว่า “คุณ” (แต่คำง่าย ๆ ที่ใช้เรียกมีอยู่ในรูปของ ind.)

  -a/-ā -i -u
m. sg. a i ī i u ū u
m. pl. a ā i ī
i ayo
ī
ī ino
u ū
u avo
u ave
ū
ū uno
nt. sg. a i   u  
nt. pl. a āni i ī
i īni
  u ū
u ūni
 
f. sg. ā e i ī i u ū u
f. pl. ā
āyo
i ī
iyo
ī
ī iyo
u ū
uyo
ū
ū uyo

การแปลเป็นภาษาไทยมักใช้ “ดูกร” หรือ “ดูก่อน” เพิ่มเข้าไปด้วย เช่น “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย” เทียบกับภาษาอังกฤษได้คือ O เช่น “O monks” แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว เพียงแค่ชื่อหรือสถานะก็เพียงพอ ดูตัวอย่างข้างล่าง

  • ācariya, ahaṃ tayā saddhiṃ gacchāmi
    = Master, I go with you.
  • dārike, so dārako tuyhaṃ idaṃ khajjakaṃ dadāti
    = Girl, that boy gives this candy to you.
  • anujānāmi, bhikkhave, ārāmaṃ1
    = (I) allow you, monks, a monastery.

Vocative particles

นอกจากจะใช้การแปรรูปคำนามหรือชื่อคนให้เป็น voc. แล้ว ยังมีคำสำร็จรูปชุดหนึ่งที่สามารถทำหน้าที่เรียกได้ และอาจจะใช้ร่วมกับคำนามรูป voc. ก็ได้ คำเหล่านี้ได้แก่

คำเรียก ใช้กับ คำอธิบาย
bhante
bhadante
ผู้มีสถานะสูงกว่า โดยทั่วไปใช้เรียกพระภิกษุ อาจแปลว่า Sir หรือ Venerable Sir
bhaṇe
ambho
hambho
āvuso
ผู้เท่าเทียมกันหรือด้อยกว่า อาจจะแปลว่า Mister ส่วน āvuso มักใช้กับพระจึงแปลว่า Venerable ก็ได้
re
are
hare
ผู้เท่าเทียมกันหรือด้อยกว่า ชุดนี้มีความสุภาพน้อยกว่า อาจจะใช้เรียกผู้รับใช้ หรือคนที่สนิทกัน
he ผู้เท่าเทียมกันหรือด้อยกว่า ใช้เรียกบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของต่าง ๆ
je ผู้ด้อยกว่า มักใช้เรียกสาวใช้

ยังมีคำเรียกอีกชุดหนึ่งที่ควรจัดอยู่ในกลุ่มนี้ พวกนี้ไม่ได้เป็น ind. แท้ แต่เป็นคำนามในรูป voc. เช่น คำที่แปรมาจากศัพท์ bhavanta และมีบางคำที่มีใช้เฉพาะรูป voc. เท่านั้น คำเหล่านี้ได้แก่

คำเรียก เพศ พจน์ คำอธิบาย
bho2
bhavanto
bhonto
bhoti
bhotiyo
m. sg.
m. pl.
m. pl.
f. sg.
f. pl.
คำทั่วไปที่ใช้เรียกบุคคล
ayyo3 m. sg. pl. แปลว่า Master, Venerable (ท่านอาจารย์, พระคุณเจ้า)
ayye f. sg. แปลว่า My Lady
amma f. sg. ใช้เรียกเด็กผู้หญิง ลูกสาว
samma m. sg. อาจแปลว่า My Dear (ใช้เฉพาะ voc.)
mārisa m. sg. pl. อาจแปลว่า Sir, Sirs (ใช้เฉพาะ voc.)

คำที่น่าสนใจคือ ayyo ซึ่งเป็นรูป voc. ที่นิยมใช้ ส่วน ayye เป็นรูป voc. ของ ayyā (lady mistress) อย่างไรก็ตาม ayya/ayyā ที่เป็นรูป voc. ปกติก็ใช้ได้เหมือนกันและใช้ได้กับทั้งสองเพศ ดูตัวอย่างการใช้งานข้างล่าง (อย่าเพิ่งสนใจส่วนที่ยังเรียนไม่ถึง)

  • no hetaṃ, bhante4
    = No, it isn’t, sir. [hetaṃ = hi + etaṃ]
  • kaṃsi tvaṃ, āvuso, uddissa pabbajito?5
    = To whom, my dear friend, you went forth?
  • handa, je, imaṃ sappiṃ picunā gaṇhāhi6
    = Here! maid, take up this ghee with the cutton.
  • katamo pana so, bho ānanda, ariyo sīlakkhandho7
    = What is, Ven. Ānanda, that (group of) noble morality?
  • nanu tvaṃ, ayyo, bhikkhūsu pabbajito ahosi?8
    = Were you, Venerable, ordained among the monks?
  • vejjo, ayye, āgato; so taṃ daṭṭhukāmo6
    = The physician, my lady, has come. He wants to see you.
  • sace kho tvaṃ, ayya, pabbajissasi, evaṃ mayampi pabbajissāma9
    = If you, my friend, will go forth, we will go forth likewise.

เชิงอรรถ

  1. Mv 1.59 

  2. โดยความสะดวกใช้ bho อาจเป็น ind. ก็ได้ คือใช้ได้ทั่วไปไม่ขึ้นอยู่กับเพศและพจน์ 

  3. ดู Sadd Pad 5 ที่ ettha ayyo iti saddo … 

  4. Mv 1.21 

  5. Mv 1.11 

  6. Mv 8.330  2

  7. Dī 1.10.450 (DN 10) 

  8. Mv 1.89 จากตอนที่ยกมาพบว่า ayyo ใช้กับคนทั่วไปก็ได้ 

  9. Mv 1.99