กริยาปัจจุบันกับกรรม
สารบัญ
บทนี้เราจะเรียนสองเรื่องหลัก ๆ ซึ่งสัมพันธ์กัน เรื่องแรกคือรูปทั่วไปของกริยาปัจจุบัน อีกเรื่องคือการแสดงกรรมของกริยานั้น เนื่องจากคำกริยาในภาษาบาลีเป็นเรื่องยากและซับซ้อน ในที่นี้จะขอพูดถึงเพียงการใช้งานง่าย ๆ ส่วนเรื่องกริยาโดยละเอียดจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป
Present tense
จากที่ได้กล่าวไว้รูปคำกริยาที่ปรากฏในประโยคสามารถบอกข้อมูลได้ 4 อย่างคือ tense/mood, person, number, และ voice ที่เกี่ยวกับบุรุษ (person) กับ พจน์ (number) เราได้พูดถึงมาพอสมควร จึงน่าจะทำความเข้าใจไม่ยาก ส่วน voice เราจะสนใจเพียงรูป active voice (ปรัสสบท) เป็นหลัก ในบทนี้เราจะพูดถึงรูปกริยาปัจจุบันหรือ present tense การใช้งานของ tense นี้คล้ายกับภาษาอังกฤษคือแสดงสถานะหรือการกระทำในปัจจุบัน ที่เพิ่มเข้ามาคือในบาลีจะรวมถึงการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ (present continuous tense) ด้วย
ความจริงเราได้พบรูปกริยาปัจจุบันมาแล้วในตอนที่เราพูดถึงกริยาเป็น/อยู่/คือ แต่ตอนนี้เราจะพูดถึงการแปรรูปทั่วไปที่ใช้ได้กับคำกริยาอื่น ๆ ด้วย รูปทั่วไปของกริยาปัจจุบันแสดงได้ตามตารางข้างล่าง
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
3rd | -ti | -nti |
2nd | -si | -tha |
1st | -mi | -ma |
ในตารางแสดงคำท้ายของรูปกริยาปัจจุบัน ส่วนที่เราจะต้องนำไปต่อเรียกว่า stem อันนี้ต้องขออธิบายนิดหน่อย ในการเรียนเรื่องคำกริยาในแบบขนบจะเริ่มที่รากคำ (root) คือส่วนที่เป็นแก่นของคำ จากรากคำนี้สามารถเจริญออกไปเป็นคำกริยา คำนาม และอื่น ๆ อีกมากมาย ในกรณีของคำกริยา เมื่อรากคำประกอบเข้ากับปัจจัย (operator) บางอย่างบวกกับคำลงท้ายที่แสดงไว้ในตาราง ผลที่ได้คือรูปกริยาที่พร้อมใช้งาน นำไปประกอบประโยคได้ ตัวอย่างเช่น hū (root) + a (operator) + ti = hoti (to be)1
ในที่นี้เราจะไม่สนใจรากคำ แต่เราจะเริ่มที่กริยาในรูปพจนานุกรม ซึ่งเป็นรูปที่ใช้งานจริง จากที่เคยแจงไว้ dictionary/canonical form คือรูป present 3rd-person singular active-voice ในตัวอย่าง คือ hoti จากนั้นให้เราทำกระบวนการย้อนกลับ โดยตัด ti ส่วนท้ายออกไป ผลที่ได้เรียกว่า stem ในกรณีนี้คือ ho เมื่อได้ stem แล้วเราก็จะสามารถสร้างรูปอื่น ๆ ได้โดยเพิ่มส่วนท้ายอื่นเข้าไป เช่น ho + nti = honti เป็นกริยาพหูพจน์ เป็นต้น
มีหลักเพิ่มเติมที่ควรรู้ไว้คือ เมื่อจะประกอบกับ -mi หรือ -ma ถ้าอักษรท้ายของ stem เป็น a ให้ทำเป็น ā (ดูตัวอย่างข้างล่าง) แต่ในกรณี -nti ถ้าเป็น ā อยู่แล้วให้ทำเป็น a (เช่น kiṇāti มีรูปพหูพจน์เป็น kiṇanti) ส่วนถ้าอักษรท้ายเป็น e หรือ o ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง (เช่น dhāremi dhārema homi homa)
การทำรูปกริยาปัจจุบัน
- หากริยารูปพจนานุกรม เช่น gacchati (to go)
- ตัด ti ส่วนท้ายออกได้ stem เช่น gaccha
ti= gaccha- นำ stem ไปประกอบกับส่วนท้ายที่ต้องการ
- เปลี่ยน a ท้าย stem เป็น ā เมื่อต่อกับ -mi หรือ -ma
- เปลี่ยน ā ท้าย stem เป็น a เมื่อต่อกับ -nti
- ถ้าท้าย stem เป็น e หรือ o ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
จากหลักที่กล่าวมาการแปรรูปกริยาปัจจุบันของ gacchati (to go) ทำได้ดังนี้
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
3rd | gacchati | gacchanti |
2nd | gacchasi | gacchatha |
1st | gacchāmi | gacchāma |
การใช้ในประโยคก็ทำเหมือนที่ได้เรียนมาแล้ว เช่น
- ahaṃ gacchāmi = I go.
- mayaṃ gacchāma = We go.
- tvaṃ gacchasi = You go. (sg.)
- tumhe gacchatha = You go. (pl.)
- so/sā gacchati = He/She goes.
- te/tā gacchanti = They go.
Accusative case
ต่อไปเราจะเพิ่มจุดหมายของกริยา “ไป” เข้าไป ในภาษาบาลีจุดหมายนี้ถือว่าเป็นกรรมของกริยา ส่วนในภาษาอังกฤษถือว่าจุดหมายเป็นกรรมของบุพบท to เช่น I go to school. แต่เมื่อพูดเป็นบาลีจะเป็น I go school. ส่วนรูปของนามที่ทำหน้าที่กรรมเรียกว่า accusative case ต่อไปจะย่อว่า acc. มีการแปรรูปตามตารางข้างล่าง
-a/-ā | -i | -ī | -u | -ū | |
---|---|---|---|---|---|
m. sg. | aṃ | iṃ | uṃ | ||
m. pl. | ī | ū | |||
nt. sg. | aṃ | iṃ | uṃ | ||
nt. pl. | iṃ | uṃ | |||
f. sg. | iṃ | uṃ | |||
f. pl. | ā āyo | iyo | ī | uyo | ū |
ตัวอย่างการใช้มีดังนี้
- ahaṃ dhanāgāraṃ gacchāmi
= I go to a bank. [dhanāgāra (nt.)]- mayaṃ pāṭhasālaṃ gacchāma
= We go to school. [pāṭhasālā (f.)]- tvaṃ vihāraṃ gacchasi
= You go to temple. [vihāra (m.)]- tumhe naccasālāyo gacchatha
= You go to theaters. [naccasālā (f.)]- so/sā mahāvijjālayaṃ gacchati
= He/She goes to university. [mahāvijjālaya (m.)]- te/tā ārogyasālaṃ gacchanti
= They go to hospital. [ārogyasālā (f.)]
ในส่วนของคำสรรพนามมีการแปรรูปดังต่อไปนี้
สรรพนาม | 1st person | 2nd person | 3rd person |
ศัพท์ | amha | tumha | ta |
ความหมาย | me–us | you–you | him/her/it–them |
m. sg. | maṃ, mamaṃ | tvaṃ, tuvaṃ | taṃ, naṃ |
m. pl. | amhe, no | tumhe, vo | te, ne |
f. sg. | taṃ, naṃ | ||
f. pl. | tā | ||
nt. sg. | taṃ, naṃ | ||
nt. pl. | tāni |
ta | eta | ima | amu | |
---|---|---|---|---|
m. sg. | taṃ, naṃ | etaṃ, enaṃ | imaṃ | amuṃ |
m. pl. | te, ne | ete, ene | ime | amū |
f. sg. | taṃ, naṃ | etaṃ, enaṃ | imaṃ | amuṃ |
f. pl. | tā | etā | imā | amū |
nt. sg. | taṃ, naṃ | etaṃ, enaṃ | idaṃ, imaṃ | aduṃ |
nt. pl. | tāni | etāni | imāni | amūni |
ตัวอย่างการใช้คำเหล่านี้มีดังนี้
- ahaṃ tvaṃ gacchāmi
= I go to you.- tumhe amhe gacchatha
= You go to us.- tvaṃ mama ṭhānaṃ gacchasi
= You go to my place. [ṭhāna (nt.)]- sā imaṃ gehaṃ gacchati
= She goes to this house. [geha (nt.)]- te aduṃ sundaraṃ uyyānaṃ gacchanti
= They go to that beautiful park (over there). [uyyāna (nt.)]
สองประโยคสุดท้ายช่วยเตือนว่าบทขยายของ acc. ต้องมีรูป acc. ตรงกับนาม
เมื่อผู้ศึกษาเข้าใจการใช้ gacchati ดีแล้ว การใช้คำกริยาอื่นในรูปปัจจุบันก็เป็นไปทำนองเดียวกัน กริยาที่ไม่ต้องการกรรมก็เพียงแปรรูปกริยาให้สอดคล้องกับบุรุษและพจน์ที่ต้องการ ถ้ากริยานั้นต้องการกรรมก็เพิ่มบท acc. เข้าไป ตัวอย่างข้างล่างน่าจะพอเป็นแนวทางได้
- mahallako marati
= An old man dies.- tā dārikāyo rodanti
= Those girls cry.- te mama gehaṃ āgacchanti
= They come to my house.- ahaṃ goḷakaṃ paharāmi
= I hit a ball.- sunakho bhūmiṃ khaṇati
= A dog digs the ground.- tvaṃ taṃ atthavaṃ potthakaṃ kiṇāsi
= You buy that useful book.- eso sappo (taṃ) dārakaṃ ḍasati
= That snake bites the boy.
ประโยคสุดท้ายแสดงให้เห็นว่า ta อาจจะแปลเป็น the ก็ได้ หมายถึงสิ่งที่เคยพูดมาก่อนหน้านี้ คือเด็กคนนั้น (taṃ dārakaṃ) แม้จะไม่มี taṃ ในประโยคนี้ถ้าเรารู้ว่าเด็กที่ว่าหมายถึงใครก็สามารถแปลเป็น the ได้ ส่วน eso sappo หมายถึง งู(ที่อยู่ตรง)นั้น
ในคัมภีร์เราจะพบว่ารูป gen. ก็ใช้เป็นกรรมและเป็นจุดหมายการไปด้วย เช่น
- ahaṃ goḷakassa paharāmi
= I hit a ball.- so gehassa gacchati
= He goes home. [จะมองว่าเป็น dat. ก็ได้]
เชิงอรรถ
-
เบื้องหลังการเกิดขึ้นของรูปกริยาแต่ละรูปมีความลึกลับซับซ้อนซ่อนอยู่ ขออธิบายง่าย ๆ อย่างนี้เพียงเพื่อปูทางไปสู่เรื่องที่ยากขึ้นในอนาคต รูปของรากคำไม่ได้เป็นตัวกำหนดรูปสุดท้ายที่ได้ และรากคำนี้บางทีก็เรียกชื่อไม่เหมือนกัน การแปรรูปส่วนใหญ่อยู่ที่ operator หรือปัจจัยซึ่งมีอยู่หลายตัวตามกลุ่มของรากคำ บางตัวก็มีผลทำให้รูปเปลี่ยนไปอย่างมาก บางตัวก็ทำให้เปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้การเพิ่มส่วนท้าย (คำเทคนิคเรียกว่า วิภัตติ) เข้าไป ก็อาจทำให้รูปกริยาเปลี่ยนไปได้อีก ทั้งหมดของกระบวนการแปรรูปนี้นักศึกษาตามแนวขนบจะต้องทำความเข้าใจและจดจำให้ดี แต่เราจะไม่เรียนด้วยวิธีอย่างนี้ ↩