บทสนทนาอย่างง่าย
สารบัญ
จากที่เรียนมาทั้งหมดจนถึงจุดนี้ เราควรเข้าใจการใช้เคสต่าง ๆ รวมทั้งการตั้งคำถามแบบง่าย ๆ การฝึกฝนหลังจากนี้คือการสร้างบทสนทนาจากความรู้ที่ได้เรียนมา กิจกรรมส่วนนี้เหมาะที่จะทำในห้องเรียน ในที่นี้จะทำตัวอย่างให้ดูเล็กน้อยเท่านั้น ผู้สนใจรายละเอียดให้ดูบทที่ 39 ใน Pāli for New Learners, Book 1 คำแนะนำเบื้องต้นในการสร้างบทสนทนามีดังนี้
- คิดประโยคที่จะพูดเป็นภาษาอังกฤษก่อน ให้คิดเป็นประโยคความเดียวสั้น ๆ และให้ใช้กริยาปัจจุบันเท่านั้น (จะคิดเป็นไทยแล้วแปลเป็นอังกฤษทีหลังก็ได้ อย่าแปลไทยเป็นบาลีโดยตรงเพราะจะทำให้เสียระบบที่เรียนมา)
- หาคำศัพท์ที่ไม่รู้จาก Appendix L ใน Pāli for New Learners, Book 1 หรือจากพจนานุกรมใน
Pāli Platform
- แปรรูปคำที่ใช้ให้ตรงความหมายที่ต้องการจะสื่อ อย่าเพิ่งไปคิดนอกเหนือจากสิ่งที่ได้เรียนมา ถ้าประโยคที่คิดไว้ต้องใช้สิ่งที่ยังเรียนไม่ถึงให้เปลี่ยนคำหรือโครงสร้างใหม่
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการสนทนาระหว่างสุพลกับวิภา ประโยคที่ใช้จะทำให้สั้น คำที่ละได้เช่นบุรุษสรรพนามจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น บางคำที่เป็นสำนวนเช่นการทักทายจะไม่อธิบาย ขอให้จำการใช้เอาไว้ นอกจากนี้ในตัวอย่างยังมีการใช้ ind. บางตัวที่ช่วยให้ความหมายชัดขึ้น ได้แก่
- pi = also
- idha = here
- āma = yes
- na = not
- pana = but
- ca = and
- have = indeed
- bhiyyo = more
ผู้สนทนา | บาลี | อังกฤษ |
---|---|---|
Suphon | Suppabhātaṃ. | Good morning! |
Wipha | Tuyhaṃ pi suppabhātaṃ. | Good morning to you, too. |
Suphon | Kiṃ nāmā hosi, bhoti? | What’s your name, madam? |
Wipha | Vibhā nāma. Tava kiṃ, bho? | (It’s) Wipha. What’s your, sir? |
Suphon | Subalo nāma. | (It’s) Suphon. |
Wipha | Āgacchasi idha pālibhāsāya sikkhanassa, Subala? | Do you come here for Pāli’s learning, Khun Suphon? |
Suphon | Āma, Vibhe.1 Idaṃ mama paṭhamaṃ āgamanaṃ hoti. Tuyhaṃ kassa? | Yes, Khun Wipha. This is my first coming. How about your (purpose)? |
Wipha | Ahaṃ pi pālibhāsāya āgacchāmi. | I also come for Pāli (learning). |
Suphon | Kena saddhiṃ āgacchasi? | With whom do you come? |
Wipha | Mama mittehi saddhiṃ āgacchāmi. | I come with my friends. |
Suphon | Kena tava susikkhitā pālibhāsā hoti? | How come is your well-trained Pāli? |
Wipha | Mama gaṇesu ahaṃ bahulā āgacchantī homi. Ahaṃ pi nandiyā taṃ uggaṇhāmi. | Among my group, I am the frequent comer. I also learn it with joy. |
Suphon | Hoti dukkaraṃ tava sikkhanaṃ? | Is your learning difficult? |
Wipha | Na hoti. Thai-bhāsāya sikkhanaṃ dukkaraṃ, English-bhāsāya pana na taṃ dukkaraṃ hoti. | No, it isn’t. Learning with Thai is difficult, but (learning) with English is not that difficult. |
Suphon | Kasmā? | How come? |
Wipha | (Yaṃ) English-bhāsāya mūlaṃ (taṃ) Pāli-bhāsāya mūlaṃ hoti.2 Na Thai-bhāsāya pana hoti. Tasmā Pāli-bhāsāya ca English-bhāsāya samānā honti. | The root of English is the root of Pāli. But (the root) of Thai is not. Therefore, Pāli and English are similar. |
Suphon | Sādhu! Taṃ na jānāmi. | That’s good! I do not know that. |
Wipha | Pāli-bhāsāya sikkhanaṃ have na dukkaraṃ hoti. | Learning Pāli is indeed not difficult. |
Suphon | Sutasmā sumano homi. | Because of hearing (that), I am glad. |
Wipha | Pāli-bhāsā pi bhiyyo tuyhaṃ ruccati.3 | You will also love Pāli more.4 |
Suphon | Sādhu! Thuti atthu. | That’s good. Thank you. |
Wipha | Sotthi.5 | May you be well! |
เชิงอรรถ
-
Vibhe เป็นรูป voc. ของ Vibhā (f.) ใช้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ฟังดูขัดหูอย่างมาก การคงรูป Vibhā ไว้น่าจะดีกว่า จะใช้ Wipha-nāme ก็ดูรุงรังและเป็นทางการเกินไป อันนี้ผู้เขียนตั้งใจจะทำให้ดูว่า บางครั้งการจะเลือกตามกฎทางไวยากรณ์หรือไม่ก็อยู่ที่ดุลพินิจของผู้ใช้เอง ในทางปฏิบัติจริง ๆ เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้เป็นบาลี นั่นคือเราอาจใช้ Wipha หรือ Suphon ในรูป voc. ก็ได้ ส่วนในการสนทนาอื่น ๆ ก็ใช้สรรพนามได้โดยไม่ต้องแปรรูปชื่อให้ปวดหัว (นอกจากการอ้างถึงบุคคลที่สาม) ↩
-
นี่เป็นการใช้โครงสร้าง ya-ta แปลตรงตัวได้ว่า Which root is of English, that root is of Pāli. โครงสร้างนี้สำคัญมากเพราะใช้บ่อยมากในคัมภีร์ เราจะเรียนเรื่องนี้กันต่อไปภายหน้า ↩
-
ruccati (to satisfy) ใช้กับ dat. ↩
-
รูปกริยาปัจจุบันใช้ในความหมายอนาคตอันใกล้ได้เหมือนภาษาอังกฤษ ↩
-
แปลเป็นไทยตรง ๆ คือ สวัสดี ↩