buddhaghosappavattikathā
[page 0377]
buddhassa bhagavato parinibbānato navannaṃ vassasatānamupari
chapaññāsāya saṃvaccharesu atikkantesu mahānāmo nāma rājā
laṅkādīpe rajjaṃ kāresi. tasmiṃ kira samaye jambūdīpe majjhimadese
bodhimaṇḍasamīpe ekasmiṃ brāhmaṇakule nibbatto eko brāhmaṇamāṇavo
ahosi1. so sabbasippesu visārado tīsu vedesu pāragato
jambūdīpe gāmanigamajanapadarājadhāniyo vicaritvā yattha yattha
paṇḍitā samaṇabrāhmaṇā vasanti tattha tattha gantvā sākacchaṃ
karoti. tena puṭṭhapañhaṃ aññe kathetuṃ na sakkonti. so
pana aññehi puṭṭhapañhaṃ visajjesi. evaṃ so sakalajambūdīpampi
pariggaṇhitvā ekaṃ vihāraṃ pāpuṇi.
tasmiṃ pana vihāre anekasatabhikkhū vasanti. tesaṃ bhikkhūnaṃ
saṅghatthero āyasmā revato2 mahākhīṇāsavo ahosi pattapaṭisambhido
parappavādamaddano. athakho brāhmaṇamāṇavo rattiṃ pātañjalīmantaṃ
sampuṇṇapadaparimaṇḍalaṃ parivatteti. athakho thero brāhmaṇassa
sajjhāyantassa saddaṃ sutvā ayaṃ brāhmaṇo mahāpañño
[page 0378]
taṃ dametuṃ vaṭṭatīti ñatvā taṃ āmantetvā evamāha brāhmaṇa
ko nukho gadrabharavaṃ viravatīti. bho pabbajita gadrabhānaṃ ravaṃ kiṃ
jānāsīti. āma jānāmīti. so pana tīsu vedesu itihāsapañcamesu
yāni gaṇṭhiṭṭhānāni tesaṃ nayaṃ neva attanā passati
nāpissa ācariyo addasa. tesu so theraṃ pucchi. thero hi pakatiyāpi
tiṇṇaṃ vedānaṃ pāragū hutvā idāni pana paṭisambhidappatto
ahosi tenassa natthi tesaṃ pañhānaṃ visajjane bhāroti tāvadeva
te pañhe visajjetvā brāhmaṇaṃ āha ko brāhmaṇa ahaṃ
tayā bahuṃ pucchito idāni taṃ ekapañhaṃ pucchāmi byākarissasi
me pañhanti. āma bho pabbajita pucchāti. thero cittayamake
imaṃ pañhaṃ pucchi yassa cittaṃ uppajjati na nirujjhati tassa
cittaṃ nirujjhissati na uppajjissati yassa vā pana cittaṃ nirujjhissati
na uppajjissati tassa cittaṃ uppajjati na nirujjhatīti1. brāhmaṇamāṇavo
uddhaṃ vā adho vā dhāretuṃ asakkonto kiṃ nāma
bho pabbajita idanti āha. buddhamanto nāmāyaṃ brāhmaṇāti.
sakkā panimaṃ bho mayhampi dātunti. sakkā brāhmaṇa amhehi
gahitapabbajjaṃ gaṇhantassa dātunti. tato brāhmaṇamāṇavo
mantatthāya pabbajjaṃ yāci. thero taṃ pabbājetvā upasampādetvā
tepiṭakaṃ buddhavacanaṃ uggaṇhāpesi. so buddhaghosoti loke pākaṭo
ahosi.
[page 0379]
so tattha vasanto vihāre ñāṇodayaṃ nāma pakaraṇaṃ katvā
abhidhammasaṅgaṇiyā aṭṭhakathañca aṭṭhasāliniṃ nāma parittaṭṭhakathañca
kātumārabhanto ahosi. athakho thero taṃ disvā evamāha
idhāvuso buddhaghosa jambūdīpe piṭakattayapālamattameva atthi tassa
aṭṭhakathā ca theravādo ca na vijjanti sīhalaṭṭhakathā pana saṅgītittayamāruḷhā
sārīputtādīhi katā mahindena kathāmaggaṃ oloketvā
sīhalabhāsāya katā sīhaladīpe pavattati tvampi tattha gantvā sabbaṃ
upaparikkhitvā māgadhāya niruttiyā parivattehi sā aṭṭhakathā
sabbalokahitāvahā bhavissatīti. evaṃ vutte āyasmā buddhaghoso
pītisomanassappatto hutvā upajjhāyañca bhikkhusaṅghañca vanditvā
āpucchitvā anugamanena paṭṭanaṃ sampāpuṇitvā nāvaṃ abhiruyhitvā
mahāsamuddamajjhe buddhadattattheraṃ paṭipathaṃ āgacchantaṃ disvā
gathāsallāpaṃ katvā tato paraṃ gantvā laṅkāpaṭṭanaṃ pāpuṇi.
tadā mahānāmo nāma rājā laṅkādīpe rajjaṃ patto. athakho
āyasmā buddhaghoso anurādhapure mahāvihāre bhikkhusaṅghaṃ passitvā
mahāpadhānaghare saṅghapālattherassa1 santikaṃ gantvā sabbaṃ sīhalaṭṭhakathaṃ
theravādañca sutvā ayaṃ dhammasāmissa buddhassa adhippāyoti
nicchayaṃ katvā tasmiṃ vihāre saṅghasannipātaṃ gantvā evamāha
sādhu bhante mama piṭakaṭṭhakathaṃ kātuṃ potthake dethāti.
athakho bhikkhusaṅgho tassa samatthabhāvaṃ vīmaṃsituṃ gāthādvayaṃ
[page 0380]
datvā evamāha ettha tvaṃ sāmatthiyaṃ dassehi tava samatthabhāvaṃ
disvā sabbepi potthake demāti. athakho āyasmā buddhaghoso
piṭakattayapāliñca tassa aṭṭhakathañca disvā visuddhimaggaṃ nāma
pakaraṇaṃ saṅgahetvā akāsi. tadā devatā tassa nepuññaṃ
mahājane pakāsetuṃ taṃ potthakaṃ antaradhāpesi. sopi aññaṃ akāsi.
tampi devatā antaradhāpesi. sopi tikkhattuṃ akāsiyeva. tasmiṃ
khaṇe devatā dve potthake tassa adāsi. tadā tayo potthakā
ahesuṃ. athakho āyasamā buddhaghoso tayo potthake gahetvā
bhikkhusaṅghassa niyyādesi. tadā bhikkhusaṅgho tayo potthake ekato
vācesi. gaṇṭhato vā akkharato vā padato vā byañjato vā
atthato vā pubbāparavasena vā theravādādīhi vā pālīhi vā tesu
potthakesu aññathattaṃ nāhosi. evaṃ niṭṭhāpitesu kirāyasmatā
buddhaghosena tīsu potthakesu devatā sādhukāraṃ akaṃsu. tena kho
pana samayena mahāvihāre anekabhikkhusahassāni sannipatitvā taṃ mahabbhūtaṃ
disvā tuṭṭhahaṭṭhā sādhukāraṃ datvā ayaṃ nissaṃsayaṃ metteyyo
bodhisatto āgatoti ugghosesuṃ.
tato mahārājā taṃ sutvā mahatiyā rājaparisāya parivuto
nagarā nikkhamitvā mahāvihāraṃ gantvā saṅghaṃ vanditvā āyasmantaṃ
buddhaghosaṃ vanditvā nimantesi sādhu bhante yāva dhammapariyosānā
mama gehe bhikkhaṃ gaṇhathāti. so tuṇhībhāvena adhivāsesi.
athakho bhikkhusaṅgho piṭakattayapālipotthake saddhiṃ sīhalaṭṭhakathāpotthakehi
[page 0381]
adāsi. athakho āyasmā buddhaghoso sabbe potthake gahetvā
mahāvihārassa dakkhiṇabhāge padhānaghare nāma ekasmiṃ pāsāde vasanto
sabbaṃ sīhalaṭṭhakathaṃ parivattetvā mūlabhāsāya māgadhikāya niruttiyā
piṭakattayassa aṭṭhakathaṃ akāsiyeva.
sīhalaṭṭhakathā hi tividhā hoti mahāaṭṭhakathā ca paccariyaṭṭhakathā ca
kurundaṭṭhakathā cāti. mahāaṭṭhakathā nāma mahāsaṅgītimāruḷhā
mahāmahindena netvā sīhalabhāsāya katā aṭṭhakathā. paccariyaṭṭhakathā
nāma paccariyaṃ nāma sīhalabhāsāya uḷumpaṃ atthi tasmiṃ sannisīditvā
katā aṭṭhakathā. kurundaṭṭhakathā nāma kurundiveḷuvihāro atthi
tasmiṃ sannisīditvā kathā aṭṭhakathā. pubbe therikācariyādīhi pālinayaṃ
gahetvā kato theravādo nāma.
āyasmā hi buddhaghoso tāva kurundaṭṭhakathaṃ sīhalabhāsato
parivattetvā mūlabhāsāya māgadhikāya niruttiyā samantapāsādikā nāma
vinayapiṭakaṭṭhakathā akāsi. tadanantaraṃ suttantapiṭake mahāaṭṭhakathaṃ
sīhalabhāsato parivattetvā sumaṅgalavilāsiniṃ nāma dīghanikāyaṭṭhakathaṃ
ṭhapesi tathā papañcasūdaniṃ nāma majjhimaṭṭhakathañca sāratthappakāsiniṃ
nāma saṃyuttanikāyaṭṭhakathañca manorathapūraṇiṃ nāma aṅguttaranikāyaṭṭhakathañca.
tadanantaraṃ abhidhammapiṭake paccariyaṭṭhakathaṃ sīhalabhāsato
parivattetvā mūlabhāsāya māgadhikāya niruttiyā aṭṭhasāliniṃ nāma
dhammasaṅgaṇīaṭṭhakathaṃ ṭhapesi tathā sammohavinodaniṃ vibhaṅgappakaraṇaṭṭhakathañca
paramatthadīpaniṃ nāma pañcappakaraṇaṭṭhakathañca. iccevaṃ
[page 0382]
āyasmā buddhaghoso sabbampi sīhalaṭṭhakathaṃ mūlabhāsāya māgadhikāya
niruttiyā piṭakattayassa aṭṭhakathaṃ akāsiyeva. sāpi aṭṭhakathā
sabbadesantaravāsīnaṃ hitāvahā ahosi. piṭakattayaṭṭhakathāya
parivattanāvasāne paṭhavīkampo ahosi. evaṃ kariyamānā piṭakaṭṭhakathā
ekasaṃvacchareneva niṭṭhitā.
athakho āyasmā buddhaghoso katakicco hutvā mahābodhiṃ vanditukāmo
bhikjusaṅghaṃ vanditvā āpucchitvā jambūdīpameva paccāgamīti.
āhu cettha saṅgahagāthā
sambuddhaparinibbānā navavassasatesu ca
chapaññāsātikkantesu mahānāmo narādhipo
dhammena dasavidhena laṅkārajjamakārayi.
bodhimaṇḍasamīpamhi jāto brāhmaṇamāṇavo
vijjāsippakalāvedī tīsu vedesu pāragū
sammā viññātasamayo sabbavādavisārado
vādatthī jambudīpamhi āhiṇḍanto pavādiko
vihāramekaṃ āgamma rattiṃ pātañjalīmataṃ
parivatteti sampuṇṇa- padaṃ suparimaṇḍalaṃ.
tattheko revato nāma mahāthero vijāniya
mahāpañño ayaṃ satto dametuṃ vaṭṭatīti so
ko nu gadrabharāvena viravantoti abravi.
[page 0383]
gadrabhānaṃ rave atthaṃ kiṃ jānāsīti āha taṃ
ahaṃ jāneti vutto so otāresi sakammataṃ.
puṭṭhaṃ puṭṭhaṃ viyākāsi viraddhampi ca dassayi
tenahi tvaṃ sakaṃ vāda- motārehīti codito
pālimahābhidhammassa atthamassa na sodhitā
āha kassuṃ mentoti buddhamantoti so bravi
dehīti vutto no vesa- dhārino dammi taṃ iti.
codito pubbahetūhi mantatthāya sa pabbaji
upasampādayitvā so uggaṇhi piṭakattayaṃ
ekāyano ayaṃ maggo1 iti pacchā tamaggahi
aggiva pākaṭo āsi candova suriyova so
buddhassa viya gambhīraṃ yo sattānaṃ viyākari2
buddhaghosoti so hoti buddho viya mahītale.
tattha ñāṇodayaṃ nāma katvā pakaraṇaṃ tadā
dhammasaṅgaṇiyākāsi kacchaṃ so aṭṭhasāliniṃ
parittaṭṭhakathañceva kātumārabhi buddhimā.
taṃ disvā revato thero idaṃ vacanamabravi
pālimattamidhānītaṃ natthi aṭṭhakathā idha
tathācariyavādā ca bhinnarūpā na vijjare
[page 0384]
sīhalaṭṭhakathā suddhā mahindena matīmatā
saṅgītittayamāruḷhaṃ sammāsambuddhadesitaṃ
sārīputtādigītañca kathāmaggaṃ samekkhiya
katā sīhalabhāsāya sīhalesu pavattati
taṃ tattha gantvā sutvā tvaṃ māgadhāya niruttiyā
parivattehi sā hoti sabbalokahitāvahā.
evaṃ vutte pasanno so nikkhamitvā tato imaṃ
dīpamāgā imasseva rañño kāle mahāmati
mahāvihāraṃ sampatto vihāraṃ sabbasādhunaṃ
mahāpadhānagharaṃ gantvā saṅghapālassa santikā
sīhalaṭṭhakathaṃ sutvā theravādañca sabbaso
dhammasāmissa esova adhippāyoti nicchiya
tattha saṅghaṃ samānetvā kātumaṭṭhakathaṃ mama
potthake detha sabbeti āha vīmaṃsituṃ satiṃ
saṅgho gāthādvayaṃ tassā- dāsi sāmatthiyaṃ tava
ettha dassehi taṃ disvā sabbe demāti potthake.
piṭakattayamettheva saddhimaṭṭhakathāya so
visuddhimaggaṃ nāmākā saṅgahetvā samāsato
tato saṅghaṃ samūhetvā sambuddhamatakovidaṃ
mahābodhisamīpamhi so taṃ vācetumārabhi.
devatā tassa nepuññaṃ pakāsetuṃ mahājane
[page 0385]
chādesuṃ potthakaṃ sopi dvattikkhattumpi taṃ akā.
vācetuṃ tatiye vāre potthake samudāhaṭe
potthakadvayamaññampi saṇṭhapesuṃ tahiṃ marū.
vācayiṃsu tadā bhikkhū potthakattayamekato
gaṇṭhato atthato cāpi pubbāparavasena vā
theravādehi pālīhi padehi byañjanehi ca
aññathattamahu neva potthakesupi tīsupi.
atha ugghosayi saṅgho tuṭṭhahaṭṭho visesako
nissaṃsayaṃyaṃ metteyyo iti vatvā punappunaṃ
saddhimaṭṭhakathāyādā potthake piṭakattaye.
gaṇṭhākare vasanto so vihāre durasaṅkare
parivattesi sabbāpi sīhalaṭṭhakathā tadā
sabbesaṃ mūlabhāsāya māgadhāya niruttiyā.
sattānaṃ sabbabhāsānaṃ sā ahosi hitāvahā
theriyācariyā sabbe pāliṃ viya tamaggahuṃ.
atha kattabbakiccesu gatesu pariniṭṭhitiṃ
vandituṃ so mahābodhiṃ jambūdīpamupāgami.
bhutvā dvādasavassāni mahānāmo mahāmahiṃ
katvā puññāni citrāni yathākammamupāgami.
piṭakaṭṭhakathaṃ katvā katvā lokahitaṃ bahuṃ
so yāvatāyukaṃ ṭhatvā theropi tusitaṃ gatoti.
santhaṭāyaṃ khemacārinā dhammatilakena
[page 0386]
buddhaghosappavattīyaṃ mayā saddhammasaṅgahe
mahāvaṃse purāṇe ca vuttanayena santhaṭā
visesaṃ ñātukāmena tattha tattha yathārahaṃ
buddhaghosanidānepi vaṃsamāliniyampi vā
ñāṇodaye visesepi viññātabbāva viññunā
ettāvatā ca amhehi laddho puññamahaṇṇavo
sabbe devānumodantu sabbasampattisiddhiyā
sīlaṃ rakkhantu saddhāya cittaṃ bhāventu pāṇino
paññañca nappamajjantu maggo hesa visuddhiyā
dukkhappattā ca niddukkhā bhayappattā ca nibbhayā
sokappattā ca nissokā suddhiṃ pappontu sādhavoti.
ประวัติพระพุทธโฆสะ
[page 0308]
เรื่อง
ประวัติพระพุทธโฆสะ
(สมเด็จพระวันรัต เขมจารี เรียบเรียงตามนัยคัมภีร์โบราณ)
เมื่อปี (พุทธศาสนายุกาล) นับแต่กาลปรินิพพานแห่งพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษา พระราชาทรงพระนามว่า
มหานามได้ครองราชย์ในลังกาทวีป ได้ยินมาว่าในสมัยนั้น มีพราหมณ-
มาณพผู้หนึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ในที่ใกล้โพธิมณฑ์
(ที่ตรัสรู้) ในมัธยมประเทศชมพูทวีป๑ มาณพนั้นเชี่ยวชาญในศิลปะ
ทั้งปวงจบไตรเพท ท่องเที่ยวไปตลอดคามนิคมชนบทราชธานีทั้งหลาย
ในชมพูทวีป สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตอยู่ในที่ใด ๆ ก็ไปทำสากัจฉา
ในที่นั้น ๆ บัณฑิตอื่น ๆ ไม่อาจกล่าวแก้ปัญหาที่มาณพนั้นถามได้
แต่มาณพนั้นแก้ปัญหาที่บัณฑิตอื่น ๆ ถามได้ มาณพนั้นครองทั้งสกล
ชมพูทวีปด้วยอาการอย่างนี้ จนมาถึงวิหารแห่งหนึ่ง (อาศัยพักอยู่ใน
บริเวณวิหารนั้น)
ก็ในวิหารนั้นมีภิกษุอยู่หลายร้อยรูป ท่านพระเรสตะ๒ สังฆเถระ
[page 0309]
ของภิกษุเหล่านั้น เป็นพระมหาขีณาสพได้ปฏิสัมภิทา (สามารถ) ย่ำยี
ปรวาท (คือข่มคำโต้ฝ่ายอื่น) ได้ ครั้งนั้นตอนกลางคืน พราหมณ-
มาณพบริวรรตปาตัญชลีมนต์ให้มีบทอันสมบูรณ์ และเป็นปริมณฑล*
พระเถระฟังเสียงพราหมณ์สาธยายมนต์ ก็ทราบว่าพราหมณ์ผู้นี้มีปัญญา
มาก คิดว่าทรมาน (คือข่มและชักจูงให้มานับถือพระศาสนา) ได้จะ
เป็นการดี จึงเรียกพราหมณ์นั้นมา ถามเปรยขึ้นว่า "พราหมณ์ ใคร
หนอ ร้องเป็นเสียงลา" พราหมณ์ถามว่า "บรรพชิตผู้เจริญ ท่านรู้
เสียงร้องของพวกลาหรือ" พระเถระรับว่ารู้ พราหมณ์นั้นจึงถาม
พระเถระในคัณฐิฐาน (คือข้อที่เป็นปมยุ่งเข้าใจยาก) ทั้งหลายในคัมภีร์
ไตรเพท ทั้งคัมภีร์อิติหาสเป็นคัมภีร์ที่ ๕ ซึ่งตนเองมองไม่เห็นนัยเลย
ทั้งอาจารย์ของตนก็ไม่เห็นมาแล้วด้วย อันพระเถระนั้น โดยปกติก็เป็น
ผู้จบไตรเพทอยู่แล้ว ซ้ำบัดนี้มาได้ปฏิสัมภิทาเข้าอีกเล่า เหตุนั้น
ความหนักในการแก้ปัญหาเหล่านั้นจึงหามีแก่ท่านไม่ เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ในทันที แล้วกล่าวกะพราหมณ์ว่า "พราหมณ์
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถูกท่านถามามากแล้ว ทีนี้จะถามปัญหาท่านสักข้อ
หนึ่ง ท่านจักแก้ปัญหาของข้าพเจ้าหรือไม่" พราหมณ์รับจะแก้ นิมนต์
ให้ถาม พระเถรจึงถามปัญหาในคัมภีร์ (ยมก ตอย) จิตตยมกนี้ว่า
"ยสฺส จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ ตสฺส จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ
[page 0310]
น อุปฺปชฺชิสฺสติ ยสฺส วา ปน จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ น อุปฺปชฺ-
ชิสฺสติ ตสฺส จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ*-จิตของบุคคลใด
เกิดอยู่ยังไม่ดับ จิตของบุคคลนั้นจักดับจักไม่เกิดหรือ ก็หรือว่า จิต
ของบุคคลใดจักดับจักไม่เกิด จิตของบุคคลนั้น เกิดอยู่ยังไม่ดับหรือ"*
เป็นต้น พราหมณมาณพไม่อาจจำ (ข้อปัญหา) ได้ ไม่ว่าบนหรือล่าง
จึงเรียนถามว่า "บรรพชิตผู้เจริญ นี่ชื่ออะไร" พระเถระบอกว่า "นี่
ชื่อพุทธมนต์ พราหมณ์" พราหมณ์ถามว่า "ท่านผู้เจริญ ให้มนต์นี้
แก่ข้าพเจ้าบ้างได้หรือไม่" พระเถระบอกว่า "พราหมณ์ เราให้แก่ผู้
ที่ถือเพศบรรพชาอย่างที่เราถือ จึงจะได้" พราหมณมาณพจึงขอ
บรรพชาเพื่อต้องการมนต์ พระเถระให้พราหมณมาณพบรรพชา
อุปสมบทแล้ว ให้เรียนพระไตรปิฎกพุทธวจนะ ภิกษุรูปนั้น (ต่อมา)
ก็ได้เป็นผู้ปรากฏในโลกโดยนามว่า "พระพุทธโฆสะ"
พระพุทธโฆสะนั้นเมื่ออยู่ในวิหารนั้น ได้แต่งปกรณ์ชื่อญาโณทัย
ไว้ในวิหารแล้ว เริ่มจะแต่งอรรถกถาพระอภิธรรมสังคณี และอรรถ-
กถาฉบับน้อยชื่ออัฏฐาสาลินี พระเถระเห็นเช่นนั้นจึงกล่าวแนะนำว่า
"ดูกรอาวุโสพุทธโฆสะ ในชมพูทวีปนี้มีแต่พระโตรปิฎกบาลีเท่านั้น
อรรถกถาของพระไตรปิฎกนั้น และเถรวาท (คือคำที่พระเถระยุค
[page 0311]
สังคีติกล่าวไว้เป็นแบบ ?) หามีไม่ แต่อรรถกถาในภาษาสีหลอันขึ้นสู่
สังคีติทั้ง ๓ หน ที่พระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้นทำไว้ พระ
มหินทร์ตรวจดูกถามรรค (ลาดเลาแห่งคำที่กล่าวไว้) แล้ว (รวบรวม
มา) แต่งไว้ด้วยภาษาสีหล ยังเป็นไป (คือยังใช้กัน) อยู่ในสีหลทวีป
แม้นเธอไปที่สีหลทวีปนั้น ตรวจดูให้ทั่วแล้วปริวรรตมาในภาษามคธ
เสียได้ (คือแปลเปลี่ยนเป็นภาษามคธเสีย) อรรถกถานั้นก็จักนำ
ประโยชน์เกื้อกูลมาให้แก่โลกทั้งปวง" เมื่อพระเถระแนะนำอย่างนั้น
ท่านพุทธโฆสะก็เกิดปีติโสมนัส กราบลาพระอุปัชฌายะและภิกษุสงฆ์
เดินทางไปถึงท่าเรือโดยลำดับ ขึ้นเรือไปพบพระพุทธทัตตเถระสวน
ทางมาที่กลางมหาสมุทร ได้พูดจาปราศัยกันแล้ว เดินทางต่อไปจน
ถึงท่ากรุงลังกา ในกาลนั้น พระเจ้ามหานามครองราชย์ในลังกาทวีป
ท่านพระพุทธโฆสะไปพบภิกษุสงฆ์ในมหาวิหารกรุงอนุราธบุรีแล้ว จึงไป
สู่สำนักพระสังฆปาลเถระ๑ ที่มหาปธานฆระ๒ ได้ฟัง (ทราบความ)
อรรถกถาภาษาสีหลและเถรวาททั้งปวงแล้ว ก็ตัดสิน (ปลงใจเชื่อ)
ว่าเป็นพระพุทธาธิบายขององค์พระธรรมสามิศร์ จึงไม่สู่ที่ประชุมสงฆ์
ในวิหารนั้น ขอหนังสือคัมภีร์เพื่อทำอรรถพระไตรปิฎก
[page 0312]
เพื่อทดสอบสมรรถภาพของท่าน ภิกษุสงฆ์จึงให้คาถา ๒ บท๑
แล้วกล่าวว่า "ท่านจวงแสดงความสามารถในคาถา ๒ บทนี้ เรา
ทั้งหลายได้เห็นความรถของท่านแล้ว จะมอบหนังสือคัมภีร์ให้
ทั้งหมด" ท่านพุทธโฆสะดูบาลีพระไตรปิฎกและอรรถกถาของพระ-
ไตรปิฎกนั้นแล้ว ได้รวบรวมแต่งปกรณ์ชื่อวิสุทธิมรรคขึ้น
ครานั้น เทวดาจะประกาศความมีฝีมือของท่านให้ปรากฏไปใน
มหาชน จึงแสร้งบันดาลหนังสือคัมภีร์ฉบับ (ที่ท่านเขียนเสร็จแล้ว)
นั้นให้อันตรธานไปเสีย ท่านจึงเขียนขึ้นใหม่อีกจบหนึ่ง เทวดาก็
บันดาลให้อันตรธานไปอีกเล่า ท่านก็เขียนขึ้นอีกครั้นที่ ๓ (พอ
เสร็จแล้ว) เทวดาก็นำหนังสือ ๒ จบนั้นมาถวายคืนให้ในขณะนั้น จึง
เกิดเป็นหนังสือ (วิสุทธิมรรค) ๓ จบขึ้นในครั้งนั้น๒ ท่านพุทธโฆสะ
หอบหนังสือทั้ง ๓ จบไปมอบแด่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ให้อ่านหนังสือ
ทั้ง ๓ จบด้วยกัน ความผิดเพี้ยงในหนังสือ ๓ จบนั้น โดยคัณฐะ (คือ
ข้อขอด) ก็ดี โดยอักขระก็ดี โดยบทก็ดี โดยพยัญชนะก็ดี โดยอรรถ
ก็ดี โดยเกณฑ์ก่อนหลังก็ดี โดยวาทะทั้งหลายมีเถรวาทเป็นต้นก็ดี
โดยพระบาลีทั้งหลายก็ดี มิได้มีเลย ได้ยินว่า เมื่อคัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้ง
๓ อันท่านพระพุทธโฆสะทำเสร็จอย่างนั้น เทวดาทั้งหลายได้พากัน
[page 0313]
ทำสาธุการ๑ สมัยนั้นภิกษุหลายพันชุมนุมกันอยู่ในมหาวิหาร เห็นการ
มหัศจรรย์นั้นแล้ว ต่างก็ชื่นชมให้สาธุการ บอกป่าวกันเซ็งแซ่ไปว่า
"นี่พระโพธิสัตว์เมตไตรยมา (เกิด) ไม่ต้องสงสัย"๒
ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงสดับข่าวนั้น ก็พร้อมด้วยราชบริพาร
เสด็จออกจากพระนครไปยังมหาวิหาร ทรงมนัสการพระสงฆ์แล้ว ทรง
นมัสการท่านพุทธโฆสะ นิมนต์รับภิกษา ณ เรือนหลวงเป็นประจำ
จนกว่าการแต่งคัมภีร์พระธรรมจะเสด็จ ท่านรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ภิกษุสงฆ์เห็นความสามารถของท่านแล้ว จึงมอบหนังสือพระ
ไตรปิฎกบาลี กับทั้งหนังสืออรรถกถาสีหลให้ท่าน ท่านรับเอา
หนังสือคัมภีร์ทั้งหมดไปพักอยู่ที่ปราสาท (คือเรือน ๒ ชั้น ?) หลังหนึ่ง
มีชื่อว่า ปธานฆระ ทางเบื้องทักษิณแห่งมหาวิหาร ปริวรรคอรรถกถา
สีหลทั้งหมด ทำเป็นอรรถกถาพระไตรปิฎกในภาษามคธอันเป็นมูล
ภาษา (คือภาษาเดิม)
ก็อรรถกถาสีหลนั้นมี ๓ ภาค คือ มหาอรรถกถา ๑ ปัจจริย-
[page 0314]
อรรถกถา ๑ กุรุนทีอรรถกถา ๑
อรรถกถาที่ได้ขึ้นสู่มหาสังคีติ พระมหินทร์นำมาแต่งไว้ใน
ภาษาสีหล ชื่อว่า มหาอรรถกถา
เรือนแพมีอยู่หลังหนึ่งมีชื่อในภาษาสีหลว่าปัจจริยะ อรรถกถา
ที่การภิกษุนั่งประชุมกันทำที่เรือนแพนั้น ชื่อ ปัจจริยอรรถกถา
มีวิหารแห่งหนึ่งชื่อ กุรุนทีเวฬุวิหาร อรรถกถาที่การภิกษุนั่ง
ประชุมกันทำในวิหารนั้น ชื่อกุรุนทีอรรถกถา
วาทะที่พระเถระปางก่อนมีพระเถริกาจารย์ (อาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ ?)
เป็นต้น ถือเอานัยพระบาลีแต่งไว้ ชื่อเถรวาท
ชั้นแรก ท่านพุทธโฆสะปริวรรตกุรุนทีอรรถกถาจากภาษาสีหล
ทำอรรถกถาพระวินัยปิฎก ชื่อสมันตปาสาทิกา ในภาษามคธแล้ว ต่อ
นั้น ในพระสุตตันตปิฎก ปริวรรตมหาอรรถกถาจากภาษีหลตั้งเป็น
อรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสีนี เป็นอรรถกถามัชฌิมนิกายชื่อ
ปปัญจสูทนี เป็นอรรถกถาสังยุตนิกาย ชื่อสารัตถปกาสินี และเป็น
อรรถกถาอังคุตรนิกาย ชื่อมโนรถปูรณี* ต่อนั้น ในพระอภิธรรมปิฎก
ปริวรรตปัจจริยอรรถกถาจากภาษาสีหล ตั้งเป็นอรรถกถาปกรณ์ธัมม-
สังคณี ชื่ออรรถสาลีนี ในภาษามคธ เป็นอรรถกถาปกรณ์วิภังค์ ชื่อ
สัมโมหวิโนทนี และเป็นอรรถกถา ๕ ปกรณ์ ชื่อปรมัตถทีปนี
ท่านพุทธโฆสะ ได้ทำอรรถกถาสีหลทั้งหมดให้เป็นอรรถกถา
[page 0315]
พระไตรปิฎก ในภาษามคธอันเป็นมูลภาษาดังกล่าวมาฉะนี้ อรรถกถา
นั้นแล ได้นำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวประเทศอื่นทั้งปวง (สืบมา)
เมื่อการปริวรรตอรรถกถาพระไตรปิฎกสำเร็จลง ก็ได้เกิดแผ่น
ดินไหว (เป็นอัศจรรย์)* อรรถกถาพระไตรปิฎกที่ท่านทำดังกล่าวมานี้
ปีหนึ่งทีเดียวจึงเสร็จ
ครั้นเสร็จแล้ว ท่านพุทธโฆสะปรารถนาจะได้ไหว้พระมหา-
โพธิ จึงกราบลาภิกษุสงฆ์กลับไปชมพูทวีปนั้นแล
สังคหคาถา
อนึ่ง ในเรื่องประวัติพระพุทธโฆสะนี้ พระบุรพาจารย์ในสีหล
ทวีปครั้งกระโน้น ได้กล่าวคาถารวมความไว้ดังนี้
เมื่อ (ศาสนายุกาล) แต่ปรินิพพานแห่งพระสัม-
พุทธเจ้าล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษา พระเจ้ามหานาม
ทรงครองราชย์ในลังกาโดยทศพิธธรรม พราหมณ-
มาณพผู้เกิดในบ้านใกล้โพธิมณฑ์ เป็นผู้รู้วิทยา
และกระบวนศิลปะ จบไตรเพท เจนจัดลัทธิ เชี่ยว
ชาญวาทะทั้งปวง มีความต้องการจะใช้วาทะ จึง
เที่ยวโต้วาทะไปในชมพูทวีป จนมาถึงวิหารแห่ง
หนึ่ง ตอนกลางคืนปริวรรตปาตัญชลีมนตร์ให้มีบท
อันสมบูรณ์เป็นปริมณฑลดี
[page 0316]
พระมหาเถระองค์หนึ่งชื่อเรวตะ ในวิหารนั้น
ทราบชัดว่า "สัตว์ผู้นี้มีปัญญามาก เราทรมานได้
จะดี" ท่านจึงกล่าวเปรยว่า "ใครหนอรู้ความเป็นเสียง
ลา" พราหมณมาณพถามท่านว่า "ท่านรู้ความใน
เสียงร้องของพวกลาหรือ " เมื่อท่านรับว่ารู้ จึงยัง
ท่านให้ลงสู่ลัทธิของตน (คือเอาลัทธิของตนมา
ถามท่าน ?) ท่านก็แก้ข้อที่ตนถาม ๆ ได้ ทั้งชี้
ข้อที่ผิดพลาดได้ด้วย ครั้นท่านเตือน จะถามบ้าง)
ก็อนุญาตให้ท่านยังตนให้ลงสู่วาทะของท่านบ้าง
(ท่านถามแล้ว) ไม่ (อาจ) แก้ความหมายแห่งบาลี
มหาอภิธรรมแก่ท่านได้ จึงถามว่า "นี่เป็นมนต์
ของใคร" ท่านบอกว่าเป็นมนต์ของพระพุทธเจ้า
จึงขอท่าน ท่านบอกว่า "เราจะให้พุทธมนต์นั้นแก่
คนที่ทรงเพศอย่างเรา" พราหมณมาณพนั้น อัน
บุพเหตุ (คือกุศลในปางก่อน) ทั้งหลายเตือน (ใจ)
แล้ว จึงบวชเพื่อต้องการมนต์ เธอได้อุปสมบท
แล้วก็เรียนพระไตรปิฎก ภายหลังก็เลยถือเอาพระ
ไตรปิฎกนั้นว่า นี่เป็นเอกายนมรรค (ทางดำเนิน
อย่างเอก ประเสริฐกว่าลัทธิเก่าของตน) (ต่อมา)
ท่านเป็นผู้ปรากฏ (เด่น) ดังดวงไฟ ดังดวงจันทร์
ดังดวงอาทิตย์ ซึ่งได้พยากรณ์กล่าวแก้ธรรมอันลึก
[page 0317]
แก่สัตว์ทั้งปลายละม้ายพุทธพยากรณ์ ท่านจึงได้
นามว่า พุทธโฆสะ เพราะโด่งดังไปในพื้นแผ่นดิน
แม้นพระพุทธองค์ ๑
ในครั้ง (อยู่ที่วิหาร) นั้น ท่านมีความรู้ได้แต่ง
ปกรณ์ชื่อญาโณทัยไว้ในวิหารนั้น แล้วแต่งอรรถ-
กถาธรรมสังคณี ๒ เริ่มจะแต่งอรรถกถาน้อยชื่อ
อรรถสาลินี พระเรวตเถระเห็นเช่นนั้น จึงบอกว่า
ปกรณ์ที่นำมาที่ (ชมพูทวีป) นี่ มีแต่พระบาลี
อรรถกถาหามีไม่ อาจริยวาทต่าง ๆ ก็ไม่มีเช่นกัน
แต่อรรถกถาเป็นภาษาสีหลล้วน ที่พระมหินทร์ผู้
ทรงปรีชาญาณ ตรวจดุกถามรรคที่ได้ขึ้นสู่งสังคีติทั้ง
[page 0318]
๓ ครั้ง นับถือเป็นคำที่พระสัมมมาสัมพุทธเจ้าทรง
แสดงไว้ และพระเถระมีพระสารีบุตรเป็นต้นร้อย-
กรองไว้แล้วแต่งขึ้นไว้ในภาษาสีหล ยังเป็นไปอยู่
ในสีหลทวีป เธอจงไปที่สีหลทวีปนั้น ตรวจดู
อรรถกถาสีหลนั้น แล้วปริวรรตไว้ในภาษามคธเสีย
ได้ อรรถกถา (ที่ปริวรรต) นั้น จะนำมาซึ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวง
เมื่อพระเถระบอกเช่นนั้น ท่านผู้มีปัญญามาก
ก็เสื่อมใส ออก (เดินทาง) จากวิหารนั้น มาถึง
(สีหล) ทวีปนี้ในรัชกาลพระราชาพระองค์นี้แหละ
ท่านมาถึงมหาวิหารอันเป็นที่อยู่ของสาธุภิกษุทั้งปวง
ไปสู่มหาปธานฆระ ได้ฟังอรรถกถาสีหลและเถร-
วาทะโดยตลอดจากสำนึกพระสังฆปาละแล้ว ก็ตัด
สินว่านี่แหละเป็นพระพุทธาธิบายของพระธรรม-
สามิศร์แท้ จึงนิมนต์สงฆ์ในวิหารนั้นมาพร้อมกัน
แล้วกล่าวว่า "ขอท่านทั้งหลายโปรดให้หนังสือ
คัมภีร์ทั้งหลายแก่ข้าพเจ้าเพื่อจะทำอรรถกถา" สงฆ์
จะทดสอบปัญญา* จึงให้คาถา ๒ บทแก่ท่าน กล่าว
ว่า "ท่านจงแสดงความสามารถของท่านในคาถา ๒
บทนี้ เราทั้งหลายเห็นความสามารถของท่านแล้ว
[page 0319]
จึงจะให้หนังสือทั้งหมด" ท่านจึงรวบรวมพระไตร-
ปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาโดยย่นย่อ แต่งปกรณ์
วิสุทธิมรรคขึ้นในมหาวิหารนี้เอง ครั้นแล้วจึง
นิมนต์สงฆ์ผู้ฉลาดรู้พระสัมพุทธธรรมให้ประชุมกัน
ณ ที่ใกล้มหาโพธิพฤกษ์ (ลังกา) ปรารภจะให้
อ่านปกรณ์วิสุทธิมรรคนั้น (ให้สงฆ์ฟัง)
เทวดาทั้งหลายจะประกาศความมีฝีมือของท่าน
ให้ปรากฏในมหาชน จึงกำบังหนังสือนั้นไว้เสีย
ท่านก็ทำขึ้นใหม่อีก ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง เมื่อนำหนังสือ
มาจะให้อ่านในครั้งที่ ๓ พวกเทวดาก็เลิก (กำบัง)
วางหนังสืออีก ๒ จบ (ที่กำบังไว้) ให้พร้อมในที่นั้น
ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายอ่านหนังสือ (วิสุทธิมรรค)
๓ จบนั้นด้วยกัน ความผิดเพี้ยนกันโดยคัณฐะก็ดี
โดยอรรถก็ดี โดยเกณฑ์ก่อนหลังก็ดี โดยเถรวาท
ทั้งหลายก็ดี โดยบาลีทั้งหลายก็ดี โดยบททั้งหลาย
ก็ดี โดยพยัญชนะทั้งหลายก็ดี มิได้มีเลยใน
หนังสือ (วิสุทธิมรรค) ทั้ง ๓ จบนั้น
ครั้งนั้น สงฆ์ชื่นชมยินดีกันเป็นพิเศษ บอก
ป่ากันเซ้งแซ่ไปว่า "ท่านผู้นี้คือพระเมตไตรย (มา
เกิด) ไม่ต้องสงสัย" จึงมอบหนังสือคัมภีร์พระ
ไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาให้
[page 0320]
ท่านอยู่ในวิหารอันเป็นบ่อเกิดแห่งคัมภีร์ เป็น
ที่ไกลความเกี่ยวข้อง (กับความอื่น) ปริวรรตอรรถ-
กถาสีหลทั้งหมดในครั้งนั้นมาในภาษามคธ อัน
เป็นมูลภาษาของอรรถกถาทั้งปวงนั้น อรรถกถา
(ที่ท่านปริวรรต) นั้นก็ได้นำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูล
แก่ประชุมชนทุกภาษา พระอาจารย์ชั้นเถระทั้งปวง
(นับ) ถืออรรถกถานั้นแม้นพระบาลี
ครั้นเมื่อกิจที่พึงทำถึงซึ่งความสำเร็จแล้ว ท่าน
ก็กลับไปชมพูทวีป เพื่อจะไหว้พระมหาโพธิ (ที่
(สู่ปรโลก) ตามกรรม
พระเจ้าหมานามทรงครองแผ่นดิน ๑๒ ปี
ทรงทำบุญหลายอย่างต่างประการแล้ว ก็เสด็จไป
(สู่ปรโลก) ตามกรรม
ฝ่ายพระเถระพุทธโฆสะ ครั้นทำอรรถกถาพระ
ไตรปิฎก ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตวโลกเป็นอัน
มากแล้ว อยู่ไปจนตลอดอายุ ก็ไปสู่ดุสิตเทวโลก
แล
คาถาต่อไปนี้ พระธรรมไตรโลกาจารย์ เขมจารี เรียบเรียง
ประวัติพระพุทธโฆสะนี้ ข้าพเจ้าเรียบเรียงตาม
นัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์สัทธัมมสังคหะ และในคัมภีร์
[page 0321]
มหาวงศ์โบราณ วิญญูชนผู้ใคร่จะทราบข้อที่แปลก
ออกไป (จากที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงมานี้) ก็พึงทราบ
ได้ในคัมภีร์นั้น ๆ ตามควร คือในพุทธโฆสนิทาน
บ้าง หรือในวังสมาลินีบ้าง ในปกรณ์วิเศษ ชื่อ
ญาโณทัยบ้าง
ก็แล บุญมหรรณพอันข้าพเจ้าทั้งหลายได้แล้ว
ด้วยการชำระปกรณ์วิสุทธิมรรคมาเพียงเท่านี้ ขอ
เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอนุโมทนาบุญนั้น เพื่อ
ความสำเร็จแห่งสมาบัติทั้งปวงเถิด ขอสัตว์ทั้งหลาย
จงรักษาศีล เจริญจิตภาวนาด้วยศรัทธา และจง
ขอสัตว์ทั้งหลายผู้ต้องทุกข์ จงนิรทุกข์ด้วย ผู้
ต้องภัย จงนิรภัยด้วย ผู้ต้องโศก จงนิรโศกด้วย
และสาธุชนทั้งหลาย จงถึงซึ่งความบริสุทธิ์ เทอญ.
[page 0322]
คำแถลงตอนจบ
ของผู้แปล
ถ้าการที่ได้มีโอกาสสนองคุณบุคคล หรือสถาบันที่มีคุณแก่ตน
นับว่าเป็นโชคดีของมนุษย์อย่างหนึ่งไซร้ ข้าพเจ้าก็เป็นคนมีโชคดีด้วย
ผู้หนึ่ง ด้วยว่าข้าพเจ้ามีโอกาสได้ทำงานสนองพระคุณมหากุฏราช-
วิทยาลัย ซึ่งเป็นบ่อเกิดความรู้ธรรมและบาลีของข้าพเจ้าตั้งแต่ต้นมา
เป็นชิ้นเป็นอันถึง ๒ ครั้งแล้ว
ครั้งแรก เมื่อข้าพเจ้าสอบ ป.ธ. ๙ ได้ใหม่เอี่ยม ปลายพ.ศ.
๒๔๖๙ ก็ได้รับงานสนองพระคุณมหากุฏราชวิทยาลัยทันที คืองาน
ชำระคัมภีร์อัตถโยชนาแห่งสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย ซึ่งใช้
เป็นคู่มือนักเรียนบาลี ป.ธ. ๗ และ ๘ ครั้นนั้นชำระไปส่งเรียงพิมพ์
ไป นับได้ว่าไม่มีวันหยุด ๓ ปีจึงเสร็จ (เริ่มงายอายุ ๒๖ เสร็จอายุ
๒๘) โดยมีเจ้าคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวโร) พระอุปัช-
ฌายะเป็นผู้กำกับ
ครั้งนี้ เมื่อข้าพเจ้าพ้นราชการโดยเกษียณอายุแล้ว มีโอกาส
เข้ามารับใช้สนองพระคุณมหากุฏราชวิทยาลัยเต็มที่ ก็ได้รับมอบงาน
อันหนักยิ่งกว่าครั้งแรก คืองานแปลคัมภีร์วิสุทธิมรรค ในขณะที่ยัง
มิได้ลงมือแปล ข้าพเจ้าไปเยี่ยมอาจารย์คุณพระธรรมนิเทศทวยหาญ
(อยู่ อุดมศิลป์ ป.ธง ใน ร. ๕) เล่าให้ท่านฟังว่าได้รับมอบให้แปล
[page 0323]
วิสุทธิมรรค ท่านถามทันทีว่า "มหาเมฆจะแปลได้ตลอดรึ" ก็เรียน
ท่านว่า "มีฎีกาเป็นคู่มือ คงจะพอคลำแปลไปได้" ท่านถามอีกว่า
"ฎีกาวิสุทธิมรรคน่ะ มหาเมฆจะอ่านออกรึ" เรียนท่านในขณะนั้นว่า
"ยังไม่ได้จับอ่าน" ที่ท่านถามเช่นนี้จะหมายความว่ากระไร ก็พอคิด
"เห็นได้ ในสมัยที่ท่านเรียนนั้น คัมภีร์วิสุทธิมรรคและฎีกายังจารึกอยู่
ในใบลานด้วยอักษรขอม ยิ่งทวีความยากและความยุ่งเป็นหลายเท่า
ท่านประจญมาก่อนแล้ว
เมื่อเริ่มแปลนั้นเป็นปลาย พ.ศ. ๒๕๐๖ ข้าพเจ้ามีงานของมหา-
มงกุฏ ฯ อยู่แล้วอย่างหนึ่ง คือบรรยายวิชาพระสูตรในสภาการศึกษา ฯ
อยู่มาท่านมอบให้อีกอย่างหนึ่ง คือเป็นบรรณาธิการวารสารธรรมจักษุ
จึงเป็นงานประจำ ๓ อย่าง งานจร (โดยมากเป็นงานแปล) มีอีกต่าง
หาก ต้องแบ่งเวลาทำแม้กระทั่งกลางคืน งานแปลวิสุทธิมรรคจึงทำ
ได้สัปดาห์ละไม่เกิน ๓ วันก็ทั้งยาก ไม่มีวันหยุดเหมือนกัน
ในการแปล ความมุ่งหมายหลัก ก็เพื่อให้เป็นคู่มือนักเรียนภาษา
บาลี เพราะคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นหลักสูตรประโยค ป.ธ. ๘ และ ๙
พร้อมกันนั้น ก็พยายามเกลาสำนวนให้ท่านที่เป็นนักศึกษาหาความรู้พอ
จะอ่านเอาความได้ด้วย แต่ว่าอรรถและพยัญชนะลางข้อลางอันไม่ขาว
พอจะแปลและเขียนลงไปได้ทันที และสำนวนบาลีก็เป็นอย่างสำนวน
บาลี (หรือจะว่าสำนวนท่านพระพุทธโฆสะก็ได้) ผู้ไม่คุ้นสำนวนของ
ท่าน ย่อมเข้าใจยากอยู่บ้าง ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงพยายามเพิ่มเติมเสริม
ความลงเล็บไว้ และวินิจฉันอธิบายขยายความตามนัยฎีกาและอัตโนมัติ
[page 0324]
เป็นเชิงอรรถไว้ มีแทบทุกหน้าไป ไม่ใช่อวดดีทำเล่นสนุก เชิงอรรถ
ลางข้อใช้เวลาคิดเขียนเป็นครึ่งค่อนชั่วโมงก็มี ทั้งนี้ก็ด้วยหวังให้เกิด
ประโยชน์แก่ท่านนักเรียนนักศึกษามากที่สุด เท่าที่ความรู้ความสามารถ
ของข้าพเจ้าจะให้ได้ อีกประการหนึ่ง ก็ด้วยคิดว่าเป็นการเสนอความ
คิดเห็นที่พอเป็นประเด็น แด่ท่านผู้รู้ทั้งหลาย จะได้ช่วยพินิจพิเคราะห์
ให้ได้อรรถและพยัญชนะที่พิสุทธ์ ความควรแก่คัมภีร์วิเศษวิสุทธิมรรค
ต่อไปด้วย
ความรู้ความสามารถของข้าพเจ้า ก็เป็นอย่างท่านอาจารย์คุณพระ
ธรรมนิเทศทวยหาญเป็นห่วง คือไม่มากนักสำหรับที่จะทำงานยากชิ้นนี้
จึงต้องศึกษาไป ปรึกษาไป แปลไป ด้วยตั้งกติกาแต่ตนเองว่า "ถ้า
ตนเองไม่เข้าใจ ห้ามเขียนลงไปเป็นอันขาด" การแปลจึงชะงักบ่อย ๆ
จนปริวิตกไปว่าจะตายเสียก่อนแปลจบ ต้องตั้งอธิษฐานทุกวัน ขอให้
แปลจบก่อนจึงตาย เวลาที่ทำเล่าก็ถูกจำกัดดังกล่าวมาฉะนี้ จึงเนิ่นมา
ถึงปีที่ ๑๐ จึงจบได้ (เริ่มงานอายุ ๖๑ จบอายุ ๗๑)
วิสุทธิมรรคแปลนี้ มหามกุฏ ฯ แบ่งพิมพ์เป็นตอน ๆ ในงาน
นั้น ๆ ตอน ๑ (สีลนิเทศและธุดงคนิเทศ) ได้พิมพ์เป็นปฐมวาระ
เนื่องในงานพระราชพิธีชนมายุสมมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
องค์พระบรมอุปถัมภกของมหามกุฏ ฯ เจริญพระชนมายุครบ ๓๖ เสมอ
สมเด็จพระบรมชนก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ตอนจบนี้ซึ่งเป็นตอนที่ ๖
ได้พิมพ์เป็นปัจฉิมวาระ ในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมดิลก
(จนฺทูปโม) ซึ่งท่านเคยเป็นหัวหน้าแผนกตำรามหากุฎ ฯ มานาน
[page 0325]
เป็นปัจโจปการสมควรแก่สมัยใน พ.ศ. ๒๕๑๖ นี้ เป็นการประจวบ
โอกาสเหมาะพอดีทีเดียวทั้ง ๒ วาระ
บัดนี้ ข้าพเจ้ายังชีวิตอยู่ รู้สึกบันเทิงใจที่จะได้ทำงานของ
พระคุณมหากุฏ ฯ ต่อไปอีก
ราชูปตฺถมฺภิโต มหา- มกุฏราชวิทฺยาลโย
จิรํ ติฏฺฐตุ สาธูนํ ธมฺมวิทฺยากโร สทา
จงมหากุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมถ์
จงตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เป็นบ่อเกิดแห่งธรรมวิทยา
แก่สาธุชนทั้งหลายทุกเมื่อ เทอญ.
นาวาอากาศเอก เมฆ อำไพจริต
กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖
[page 0326]
ปัจฉิมกถา
แผนกตำรามหากุฏราชวิทยาลัย
อุปกรณ์การศึกษา คือตำราเรียน เป็นปัจจัยหลักสำคัญในการ
ศึกษาจะขาดเสียมิได้ เมื่อยังเป็นนักเรียนกำลังเรียนภาษาบาลีหรือ
ภาษามคธอยู่ ได้ประสบปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับตำราเรียนแผนกนี้
ที่ยังไม่มี "เผด็จ" ครบทุกชั้นทุกประโยค คือหลักสูตรที่เป็นภาษาบาลี
หรือภาษามคธ ยังไม่มีแบบประกอบที่แปลเป็นภาษาไทยไว้ครบทุกชั้น
จึงทำความลำบากให้แก่ครูและนักเรียนตลอดมา มีความคิดคำนึงอยู่
เสมอดว่า ทำอย่างไรตำราเรียนของคณะสงฆ์ไทยแผนกนี้ จึงจะมีแบบ
ประกอบครบบริบูรณ์ทุกชั้น และได้ตั้งใจไว้ว่า ถ้าตนเองเรียนสำเร็จ
แล้ว ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จะอุทิศกำลังทุกอย่างเท่าที่มีอยู่
แปลหลักสูตรคือตำราเรียนที่เป็นภาษาบาลีหรือภาษามคธ เป็นภาษา
ไทยให้มีครบทึกชั้นทุกประโยค อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ครูและ
นักเรียนตลอดถึงผู้ใคร่ต่อการศึกษาทั่วไป เมื่อได้มามีหน้าที่เกี่ยวข้อง
กับแผนกตำรามหามกุฏ ฯ ตามที่ตั้งใจไว้ เมื่อได้เริ่มดำเนินงานในเรื่องนี้
โดยได้นำเรื่องการแปลกหลักสูตรเปรียญ ที่เป็นภาษามคธเป็นภาษาไทย
ทั้งหมด เข้าสู่ที่ประชุมกรรมการกองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย โดย
มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ผู้อำนวยการมหามกุฏ ฯ ซึ่งเวลา
นั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นประธานกรรมการ และ
กรรมการทุกท่านต่างก็มีความเห็นชอบเอกฉันท์ จึงได้ตั้งอนุ-
[page 0327]
กรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ให้มีหน้าที่ช่วยกันแปลหลักสูตรที่เป็นภาษา
มคธเป็นภาษาไทย และตรวจทานชำระพิมพ์เป็นแบบประกอบการ
ศึกษาเล่าเรียนวิชาแผนกนี้สืบไป
อนุกรรมการคณะนี้ได้ลงมือแปลอภิธัมมัตถวิภาวินีก่อน ต่อมา
แปลสมันตปาสาทิกา ภาค ๑-๒ และวิสุทธิมรรค ภาค ๑-๒-๓ ตกลง
ว่า หลักสูตรเปรียญประโยค ๓ ถึงประโยค ๙ แปลเป็นไทย คือ ธัมม-
ปทัฏฐกถาแปล มังคลัตถวิภาวินีแปล ฉบับของมหากุฏ ฯ มีครบ
บริบูรณ์ ถึงแม้การแปลแต่ละเรื่องแต่ละสำนวนจะมีขาดตกบกพร่อง
อยู่บ่าง ก็เป็นธรรมดาของการทำงานครั้งแรก จะให้สมบูรณ์ทีเดียวทำ
ได้ยาก หวังว่าท่านผู้รู้ที่ได้พบเห็นข้อบกพร่องนั้น ๆ จะได้ช่วยปรับปรุง
แก้ไขให้สมบูรณ์ในคราวพิมพ์ครั้งต่อไป
อนึ่ง ปกรณ์วิสุทธิมรรค เป็นหนังสืออธิบายธรรมะที่สุขุมคัมภีร-
ภาพ ยากทั้งศัพท์และสำนวนโวหาร และยังมีเรื่องเกี่ยวกับลัทธิ จารีต
ประเพณีต่าง ๆ ยากแก่การวินิจฉัยชี้ขาด ดังที่ได้ปรารภไว้ในคำนำ
วิสุทธิมรรคแปลภาค ๑ ตอน ๑ นั้นแล้ว คณะอนุกรรมการจึงยกร่าง
วิสุทธิมรรคแปลที่กรรมการแปลไว้ให้เป็นหน้าที่อาจารย์เมฆ อำไพจริต
(น.อ. เมฆ อำไพจริต ป.ธ. ๙) รับไปดำเนินการแต่ผู้เดียว สำนวน
แปลวิสุทธิมรรคทั้งหมด ตั้งแต่ตอน ๑ จนถึงตอนจบนี้ จะว่าเกิด
จากสติปัญญาการค้นคว้าและวิริยะอุตสาหะของอาจารย์เมฆทั้งนั้นก็ว่าได้
นอกนั้นก็เป็นเพียงที่ปรึกษาช่วยเหลือเท่านั้น
[page 0328]
ฉะนั้น แผนกตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย จึงขออนุโมทนาในกุศล
เจตนาพยายามชอบของอาจารย์เมฆเป็นอย่างยิ่ง ขอคุณพระศรีรัตนตรัย
ช่วยอภิบาลคุ้มครองให้ท่านมีพลานามัย อายุยืน เป็นกำลังสนับสนุน
ช่วยเหลือกิจการพระศาสนา และกองตำรามหามกุฏ ฯ สืบไป.